หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การประเมินด้านที่ 3

การประเมินด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน มีองค์ประกอบการประเมิน 

เกณฑ์การให้คะแนน เกณฑ์การตัดสิน และวิธีการประเมิน ดังนี้ 

1. องค์ประกอบการประเมิน  การประเมินด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน คะแนนเต็ม 100 คะแนน ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
    ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน คะแนนเต็ม 60 คะแนน มีรายการประเมิน 3 รายการ จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
        1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (30 คะแนน) มีจำนวน 3 ตัวบ่งชี้สำ หรับการประเมินผู้สอนการศึกษาปฐมวัย กำหนดตัวบ่งชี้ มีจำนวน 3 ตัวบ่งชี้ โดยให้ใช้ผู้เรียนที่มีพัฒนาการตามมาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์(10 คะแนน) ระดับ/คะแนนพัฒนาการก่อนพัฒนา (10 คะแนน) และหลังพัฒนาในปีปัจจุบันสูงกว่าปีที่ผ่านมา และผลการประเมินพัฒนาการระดับเขต/ประเทศ(10 คะแนน)แทนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำ หรับการประเมินผู้สอนการศึกษาพิเศษ กำหนดตัวบ่งชี้มีจำนวน 2 ตัวบ่งชี้ ในแต่ละประเภทของความพิการ โดยให้ใช้ความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาการด้านต่างๆ (20 คะแนน) และให้บริการที่จัดให้กับผู้เรียน(10 คะแนน)แทนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
        2) ผลการพัฒนาผู้เรียนด้านอื่นๆ (20 คะแนน) มีจำนวน 2 ตัวบ่งชี้ สำหรับการศึกษาระดับปฐมวัย มีจำนวน 1 ตัวบ่งชี้
        3) ปริมาณและสภาพของงาน (10 คะแนน) มีจำนวน 2 ตัวบ่งชี้
    ส่วนที่ 2 ผลงานทางวิชาการ คะแนนเต็ม 40 คะแนน มีรายการประเมิน2 รายการ จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
       1) คุณภาพของผลงานทางวิชาการ (20 คะแนน) มีจำนวน 4 ตัวบ่งชี้
       2) ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ (20 คะแนน) มีจำนวน 2 ตัวบ่งชี้

2. เกณฑ์การให้คะแนน 
      2.1 การประเมินด้านที่ 3
            ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน กำหนดให้มีเกณฑ์การประเมินเป็นระดับคุณภาพ 4 ระดับ คือ ระดับ 4 ระดับ 3 ระดับ 2 และระดับ 1 ในแต่ละระดับคุณภาพกำหนดค่าคะแนน ดังนี้


      2..2 การประเมินด้านที่ 3
             ส่วนที่ 2 ผลงานทางวิชาการ พิจารณาจาก
             1) คุณภาพของผลงานทางวิชาการ
                 - ความถูกต้องตามหลักวิชาการ (7 คะแนน)
                 - ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ (6 คะแนน)
                 - ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (4 คะแนน)
                 - การจัดทำ การพิมพ์และรูปเล่ม (3 คะแนน)
             2) ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ
                 - ประโยชน์ต่อผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา การจัดการศึกษาหน่วยงานการศึกษาและชุมชน(10 คะแนน)
                 - ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการและการเผยแพร่ในวงวิชาการ(10 คะแนน)

3. เกณฑ์การตัดสิน 
    3.1 การประเมินด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย
          ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และส่วนที่ 2 ผลงานทางวิชาการ ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคน ดังนี้



    3.2 การปรับปรุงด้านที่ 3  กรณีที่ผลการประเมินไม่ผ่านตามเกณฑ์ ข้อ 3.1 และคณะกรรมการชุดที่ 2 มีความเห็นว่าผลการปฏิบัติงานอยู่ในวิสัยที่สามารถปรับปรุงได้ โดยต้องมีผลการประเมินจากกรรมการไม่น้อยกว่า 2 คน ผ่านเกณฑ์ทั้งในส่วนที่ 1 ส่วนที่ 2 และคะแนนรวมเฉลี่ยและต้องมีลักษณะและเงื่อนไข ดังนี้
         การปรับปรุงส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ต้องเป็นกรณีที่ผู้ขอรับการประเมินชี้แจงข้อมูลตามแบบรายงานผลการปฏิบัติงาน(ก.ค.ศ. 3/1) ยังไม่ชัดเจน สามารถ
ให้ผู้ขอรับการประเมินอธิบายหรือชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมให้ชัดเจนได้เท่านั้น ไม่สามารถให้ปรับปรุงข้อมูลเกี่ยวกับผลการการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการประเมินและหรือการทดสอบของวิชาที่สอนในระดับเขตหรือระดับประเทศ และผลการพัฒนาผู้เรียนด้านอื่นๆ เป็นต้น
         การปรับปรุงส่วนที่ 2 ผลงานทางวิชาการต้องอยู่ในวิสัยที่สามารถปรับปรุงได้ การปรับปรุงด้านที่ 3 สามารถปรับปรุงได้ไม่เกิน 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 ให้ปรับปรุงภายในเวลา 6 เดือน เมื่อปรับปรุงแล้วหากคณะกรรมการประเมินพิจารณาแล้ว เห็นว่าผู้ขอรับการประเมินยังปรับปรุงไม่ครบถ้วนตามข้อสังเกตอาจให้ปรับปรุงได้อีกครั้งหนึ่งภายในเวลา 3 เดือน

4. วิธีการประเมิน 
    4.1 ให้กรรมการผู้ประเมินใช้แบบประเมินด้านที่ 3(ก.ค.ศ.11/1 และก.ค.ศ. 12/1) ควบคู่กับกรอบการประเมินด้านที่ 3 และคำอธิบายตัวบ่งชี้การประเมินด้านที่ 3
    4.2 ให้กรรมการพิจารณาข้อมูลส่วนที่ 1 คือ ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนจากเอกสารหลักฐานที่ผู้ขอรับการประเมินรายงานตามแบบ ก.ค.ศ. 3/1 และอาจพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานจริงด้วยก็ได้ สำหรับการประเมินส่วนที่ 2 พิจารณาจากเอกสารผลงานทางวิชาการ ตามจำนวนและประเภทที่ ก.ค.ศ.กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์ฯ ของแต่ละวิทยฐานะ
และตามคำอธิบายตัวบ่งชี้การประเมินด้านที่ 3 ทั้งนี้การประเมินในส่วนที่ 2 นี้ อาจให้ผู้ขอรับประเมินตอบข้อซักถามด้วยก็ได้
    4.3 การประเมินด้านที่ 3 ส่วนที่ 1(ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน) ให้กรรมการแต่ละคนตรวจสอบเอกสารหลักฐาน แหล่งข้อมูลที่แสดงถึงร่องรอยคุณภาพตามที่ปรากฏในแบบรายงานผลการปฏิบัติงาน(ก.ค.ศ. 3/1) แล้วให้คะแนนในแต่ละตัวบ่งชี้ โดยวงกลมรอบตัวเลขตามระดับคุณภาพ และบันทึกหลักฐานร่องรอยที่สอดคล้องกับระดับคุณภาพนั้น โดยใช้แบบบันทึกการประเมิน ดังนี้
         4.3.1 แบบบันทึกการประเมินด้านที่ 3(ก.ค.ศ. 11/1.1) แล้วจึงนำคะแนนที่ได้แต่ละข้อและข้อสังเกตมาบันทึกลงในแบบประเมินด้านที่ 3(ก.ค.ศ. 12/1.1)ให้ชัดเจน
         4.3.2 สำ หรับผู้ที่สอนการศึกษาปฐมวัย ให้ใช้แบบบันทึกการประเมินด้านที่ 3(ก.ค.ศ. 11/1.2) แล้วจึงนำคะแนนที่ได้แต่ละข้อและข้อสังเกตมาบันทึกลงในแบบประเมินด้านที่ 3(ก.ค.ศ. 12/1.2) ให้ชัดเจน
         4.3.3 สำ หรับผู้ที่สอนการศึกษาพิเศษ ให้ใช้แบบบันทึกการประเมินด้านที่ 3(ก.ค.ศ. 11/1.3) แล้วจึงนำคะแนนที่ได้แต่ละข้อและข้อสังเกตมาบันทึกลงในแบบประเมินด้านที่ 3(ก.ค.ศ. 12/1.3) ให้ชัดเจน
    4.4 การประเมินด้านที่ 3 ส่วนที่ 2 (ผลงานทางวิชาการ) ให้กรรมการแต่ละคนประเมินผลงานทางวิชาการตามกรอบการประเมินผลงานทางวิชาการที่กำหนดแล้วจึงให้คะแนนในแต่ละรายการ พร้อมทั้งบันทึกข้อสังเกตเกี่ยวกับผลงานทางวิชาการในแบบประเมินด้านที่ 3(ก.ค.ศ. 12/1.1) สำหรับผู้ที่สอนการศึกษาปฐมวัย(ให้ใช้แบบ ก.ค.ศ. 12/1.2) สำหรับผู้ที่สอนการศึกษาพิเศษ(ให้ใช้แบบ ก.ค.ศ. 12/1.3) ให้ชัดเจน

หมายเหตุ แบบสรุปผลการประเมินด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3(ก.ค.ศ.13/1) ใช้สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นำเสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา หรือส่วนราชการ
เสนอ อ.ก.ค.ศ.ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง พิจารณา เมื่อการประเมินด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3 มีผลสิ้นสุดแล้ว

วิทยฐานะชำนาญการ
   1. ให้คณะกรรมการ ประเมิน 3 รายการ ตามที่ผู้ขอรับการประเมินเสนอไว้ตามแบบ ก.ค.ศ.1(ข้อ 6) คือ
       1) ผลการพัฒนาผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผลการประเมิน และหรือการทดสอบของวิชาที่สอนในระดับเขตหรือระดับประเทศ และผลการพัฒนาผู้เรียนด้านอื่นๆ
       2) รายงานการสังเคราะห์ผลการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
       3) ข้อมูลอื่น ๆ ได้แก่ ปริมาณ คุณภาพ และสภาพของงานที่ผู้ขอรับการประเมินปฏิบัติ
   2. ให้กรรมการแต่ละคนประเมินผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของผู้ขอรับการประเมินวิทยฐานะครูชำนาญการ โดยใช้แบบประเมิน ดังนี้
       2.1 แบบบันทึกการประเมินด้านที่ 3( ก.ค.ศ.11/1.1) แล้วจึงนำผลการประเมินบันทึกลงในแบบสรุปผลการประเมินด้านที่ 3 (ก.ค.ศ.14/1.1 ) ให้ชัดเจน
       2.2 สำหรับผู้ที่สอนการศึกษาปฐมวัย ให้ใช้แบบบันทึกการประเมินด้านที่ 3(ก.ค.ศ.11/1.2) แล้วจึงนำผลการประเมินบันทึกลงในแบบสรุปผลการประเมินด้านที่ 3(ก.ค.ศ.14/1.2) ให้ชัดเจน
       2.3 สำหรับผู้ที่สอนการศึกษาพิเศษ ให้ใช้แบบบันทึกการประเมินด้านที่ 3(ก.ค.ศ.11/1.3) แล้วจึงนำผลการประเมินบันทึกลงในแบบสรุปผลการประเมินด้านที่ 3(ก.ค.ศ.14/1.3) ให้ชัดเจน
    3. ให้กรรมการแต่ละคนประเมินรายงานการสังเคราะห์ผลการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน และปริมาณ คุณภาพ และสภาพของงานที่ผู้ขอรับการประเมินรายงานไว้ในแบบ ก.ค.ศ.1 ตามกรอบการประเมินด้านที่ 3 สำหรับวิทยฐานะชำนาญการ
    4. ให้กรรมการแต่ละคนบันทึกสรุปคะแนนการประเมินทุกด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3 และบันทึกข้อสังเกตในการประเมินทั้ง 3 ด้าน ลงในแบบประเมินด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3 (ก.ค.ศ.14/1.1) สำหรับผู้ที่สอนการศึกษาปฐมวัย(ให้ใช้แบบ ก.ค.ศ. 14/1.2) สำหรับผู้ที่สอนการศึกษาพิเศษ(ให้ใช้แบบ ก.ค.ศ. 14/1.3)
    5. การประเมินด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติ ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65
หมายเหตุ 
   1. แบบสรุปผลการประเมินด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3(ก.ค.ศ. 15/1) ใช้สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา หรือส่วนราชการ เสนอ อ.ก.ค.ศ.ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง พิจารณา เมื่อการประเมินด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3 มีผลสิ้นสุดแล้ว
   2. ในการประเมินค่าทีเฉลี่ยตามข้อ 1.1.1 และข้อ 1.1.2 ของแบบ ก.ค.ศ. 3 วิทยฐานะครูชำนาญการ และค่าทีเฉลี่ยตามข้อ 1.1 และ ข้อ 1.2 ของแบบ ก.ค.ศ. 3/1 วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษขึ้นไป ดำเนินการดังนี้
      2.1 ประเมินตารางวิเคราะห์จุดประสงค์และเนื้อหาของแบบทดสอบ(Table of Specifications : TOS) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้/กลุ่มประสบการณ์/สาขาวิชาที่ผู้ขอรับการประเมินเสนอขอ
      2.2 ประเมินคุณภาพของข้อสอบ ค่า p, r และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของแบบทดสอบก่อนเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน และแบบทดสอบปลายภาค/ปลายปีการศึกษาที่แล้วและปีการศึกษาปัจจุบัน
      2.3 นำผลคะแนนค่าทีเฉลี่ยก่อนเรียนเทียบกับคะแนนค่าทีเฉลี่ยหลังเรียนว่าต่างกันร้อยละเท่าไร แล้วนำผลต่างที่ได้มาเทียบกับระดับตามเกณฑ์การให้คะแนนที่ ก.ค.ศ. กำหนด ดังนี้
           ระดับ 4 ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนร้อยละ 20 ของคะแนนก่อนเรียน
           ระดับ 3 ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 แต่ไม่ถึงร้อยละ 20 ของคะแนนก่อนเรียน
           ระดับ 2 ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 แต่ไม่ถึงร้อยละ 15 ของคะแนนก่อนเรียน
           ระดับ 1 ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนต่ำกว่าร้อยละ 10 ของคะแนนก่อนเรียน
      2.4 นำผลคะแนนค่าทีเฉลี่ยปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาที่แล้ว เทียบกับคะแนนค่าทีเฉลี่ยปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาปัจจุบัน ว่าต่างกันร้อยละเท่าไร แล้วนำผลต่างที่ได้มาเทียบกับระดับตามเกณฑ์การให้คะแนนที่ ก.ค.ศ. กำหนด ดังนี้
           ระดับ 4 ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาปัจจุบันสูงกว่าปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาที่แล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
           ระดับ 3 ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาปัจจุบันสูงกว่าปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาที่แล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 7 แต่ไม่ถึงร้อยละ 10
           ระดับ 2 ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาปัจจุบันสูงกว่าปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาที่แล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 4 แต่ไม่ถึงร้อยละ 7
           ระดับ 1 ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาปัจจุบันสูงกว่าปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาที่แล้วต่ำกว่าร้อยละ 4
คำอธิบายรายการและตัวบ่งชี้ การประเมินด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน
สายงานการสอน
การประเมินด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสายงานการสอน มีคะแนนเต็ม 100 คะแนน ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
    ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 60 คะแนน มีจำนวน 6 ตัวบ่งชี้ และส่วนที่ 2 ผลงานทางวิชาการ 40 คะแนน ดังนี้
       ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน(60 คะแนน)
          1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พิจารณาตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
              ตัวบ่งชี้ 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน หมายถึง ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเปรียบเทียบก่อนเรียนและหลังเรียน
              ตัวบ่งชี้ 1.2 ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของวิชาที่สอน หมายถึง ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเปรียบเทียบปีปัจจุบันกับปีที่ผ่านมา
              ตัวบ่งชี้ 1.3 ผลการประเมินและหรือการทดสอบของวิชาที่สอน/กลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับเขต/ประเทศ หมายถึง ความก้าวหน้าของการทดสอบในวิชาที่ผู้สอนรับผิดชอบการจัดการเรียนการสอน สำหรับผู้ขอรับการประเมินที่สอนระดับปฐมวัย พิจารณาตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
          1) พัฒนาการตามมาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546
              ตัวบ่งชี้ 1.1 ผู้เรียนที่มีพัฒนาการตามมาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง ผู้เรียนมีพัฒนาการตามมาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 12 ข้อ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546
              ตัวบ่งชี้ 1.2 ระดับ/คะแนนพัฒนาการก่อนพัฒนาและหลังพัฒนา ในปีปัจจุบันสูงกว่าปีที่ผ่านมา หมายถึง ระดับ/คะแนนของผู้เรียนพัฒนาการของผู้เรียนทั้ง 4 ด้าน โดยเปรียบเทียบปีที่ผ่านมากับปีปัจจุบัน(ระดับชั้นอนุบาล 1 หมายถึง ความก้าวหน้าทางพัฒนาการของผู้เรียนที่ศึกษาในปีการศึกษาต่างกัน หรือ ระดับชั้นอนุบาล 2 หรือระดับชั้นอนุบาล 3 หมายถึง ระดับ/คะแนนพัฒนาการของผู้เรียนกลุ่มเดียวกันที่เลื่อนระดับชั้นสูงขึ้น โดยเปรียบเทียบระหว่างระดับ/คะแนนพัฒนาการ ชั้นปีที่ผ่านมากับปีปัจจุบัน)
              ตัวบ่งชี้ 1.3 ผลการประเมินพัฒนาการระดับเขต/ประเทศ หมายถึง ผู้เรียนมีผลการประเมินพัฒนาการระดับเขต/ประเทศในปีปัจจุบันสูงกว่าปีที่ผ่านมาสำหรับผู้ขอรับการประเมินที่สอนการศึกษาพิเศษ
      1. ผลการพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
         1) เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง ผู้เรียนที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับ หูตึงน้อยจนถึงหูหนวก พิจารณาตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
             ตัวบ่งชี้ 1.1 ความสามารถในการพัฒนาการด้านต่าง ๆ หมายถึง ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการด้านการพูด การใช้ภาษา ความสามารถทางสติปัญญา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปรับตัว
             ตัวบ่งชี้ 1.2 บริการที่จัดให้กับผู้เรียน หมายถึง ผู้เรียนได้รับบริการจากสถานศึกษาที่จัดให้กับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เช่น เครื่องช่วยฟัง การฝึกฟัง/ฝึกพูด เป็นต้น
     2) เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา หมายถึง ผู้เรียนที่มีความจำกัดอย่างชัดเจนในการปฏิบัติตนในปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ คือ ความสามารถทางสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์พิจารณาตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
             ตัวบ่งชี้ 2.1 ความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยหรือระดับปานกลางในด้านต่างๆ หมายถึง ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการทักษะด้านต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหว ด้านภาษา และการรับรู้ การช่วยเหลือตนเองทางสังคม กลไกกล้ามเนื้อมัดเล็ก/มัดใหญ่ ด้านอาชีพ เป็นต้น
             ตัวบ่งชี้ 2.2 บริการที่จัดให้กับผู้เรียน หมายถึง ผู้เรียนได้รับบริการจากสถานศึกษาที่จัดให้กับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เช่น บริการสอนเสริม ครูพี่เลี้ยง การเยี่ยมบ้าน การฝึกอาชีพ เป็นต้น
     3) เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น หมายถึง ผู้เรียนที่สูญเสียการเห็นตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงตาบอดสนิท พิจารณาตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
            ตัวบ่งชี้ 3.1 ความสามารถในการพัฒนาการด้านต่าง ๆ หมายถึง ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการด้านต่างๆ ได้แก่ การรับรู้จากการเห็นที่เหลืออยู่ การรับรู้ทางการได้ยินการสัมผัส การบูรณาการประสาทสัมผัส การดูแลช่วยเหลือตัวเอง การเตรียมทักษะการอ่านและการเขียนอักษรเบรลล์ การทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว และทักษะการเตรียมการประกอบอาชีพ
            ตัวบ่งชี้ 3.2 บริการที่จัดให้กับผู้เรียน หมายถึง ผู้เรียนได้รับบริการจากสถานศึกษาที่จัดให้กับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น เช่น บริการทางการแนะแนวและการให้คำปรึกษา บริการสอนเสริม บริการอุปกรณ์การสอนและเครื่องมือในการสอน เป็นต้น
     4) เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หมายถึง ผู้เรียนที่มีอวัยวะไม่สมส่วนหรือขาดหายไป กระดูกหรือกล้ามเนื้อผิดปกติมีอุปสรรคในการเคลื่อนไหว ความบกพร่องดังกล่าวอาจเกิดจากโรคทางระบบประสาท โรคของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกการไม่สมประกอบมาแต่กำเนิด อุบัติเหตุ และโรคติดต่อ และเด็กที่มีความบกพร่องทางสุขภาพ หมายถึง ผู้เรียนที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังหรือมีโรคประจำตัวซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาซึ่งมีผลทำให้เกิดความจำเป็นต้องได้รับการศึกษาพิเศษ พิจารณาตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
            ตัวบ่งชี้ 4.1 ความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาการ หมายถึง ผู้เรียนได้รับการพัฒนาด้านต่างๆ ได้แก่ ความสามารถด้านการสื่อสาร การบูรณาการประสาทสัมผัสการช่วยเหลือตนเอง ทักษะทางสังคม นันทนาการ และการเตรียมความพร้อมด้านอาชีพ
            ตัวบ่งชี้ 4.2 บริการที่จัดให้กับผู้เรียน หมายถึง ผู้เรียนได้รับบริการจากสถานศึกษาที่จัดให้กับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย เช่น กายภาพบำ บัดกิจกรรมบำบัด การแก้ไขการพูดและภาษา เป็นต้น
     5) เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หมายถึง ผู้เรียนที่มีความผิดปกติในการทำงานของสมองบางส่วนที่แสดงถึงความบกพร่องในกระบวนการเรียนรู้ที่อาจเกิดขึ้นเฉพาะความสามารถด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน พิจารณาตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
            ตัวบ่งชี้ 5.1 ความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาการ หมายถึง ผู้เรียนได้รับการพัฒนาด้านการรับรู้และการบูรณาการประสาทสัมผัส พัฒนาการทางภาษา ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ทักษะทางสังคม ทักษะในการเรียน และการเตรียมความพร้อมด้านอาชีพ
            ตัวบ่งชี้ 5.2 บริการที่จัดให้กับผู้เรียน หมายถึง ผู้เรียนได้รับบริการจากสถานศึกษาที่จัดให้กับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เช่น บริการสอนเสริมการเคลื่อนไหวและบูรณาการประสาทสัมผัส กิจกรรมบำบัด เป็นต้น
     6) เด็กออทิสติก หมายถึง ผู้เรียนที่มีความผิดปกติของระบบการทำ งานของสมองบางส่วน ซึ่งส่งผลต่อความบกพร่องทางพัฒนาการด้านภาษา ด้านสังคม และการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และมีข้อจำกัดด้านพฤติกรรม หรือมีความสนใจจำกัดเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง พิจารณาตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
            ตัวบ่งชี้ 6.1 ความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาการ หมายถึง ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะต่างๆ ได้แก่ ทักษะในการสื่อสาร ทักษะในการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ การบูรณาการประสาทสัมผัส ทักษะทางสังคมและทักษะในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม ทักษะในการดูแลช่วยเหลือตนเอง และทักษะการเตรียมความพร้อมด้านอาชีพ
            ตัวบ่งชี้ 6.2 บริการที่จัดให้กับผู้เรียน หมายถึง ผู้เรียนได้รับบริการจากสถานศึกษาที่จัดให้กับผู้เรียนออทิสติก เช่น บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ครูพี่เลี้ยงกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด เป็นต้น
     2. ผลการพัฒนาผู้เรียนด้านอื่นๆ พิจารณาตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
            ตัวบ่งชี้ 2.1 ผลการพัฒนาผู้เรียน ด้านสุขภาพ ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคมหมายถึง ผลจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้กิจกรรมประจำวัน/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านสุขภาพ ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม ตามหลักสูตรและตามที่สถานศึกษากำหนด
            ตัวบ่งชี้ 2.2 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและตามที่สถานศึกษากำหนดในรายวิชาที่เสนอขอผลงานสำหรับผู้ขอรับการประเมินที่สอนระดับปฐมวัยตัวบ่งชี้ ผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนเพิ่มเติมจากที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 หมายถึง คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนที่ครูกำหนดเพิ่มเติมจากที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 ซึ่งสอดคล้องกับหลักการจัดการศึกษาปฐม
สำหรับผู้ขอรับการประเมินที่สอนการศึกษาพิเศษ
            ตัวบ่งชี้ 2.1 ผลการพัฒนาผู้เรียนด้านสุขภาพร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม หมายถึง ผู้เรียนมีผลการพัฒนาด้านสุขภาพร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคมตามระดับความสามารถ (พื้นฐานความรู้ด้านวิชา ทักษะ เช่น การอ่าน การเขียน คณิตศาสตร์ ฯลฯ)การพูดและภาษา ทักษะทางสังคม การใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้ การเคลื่อนไหวการช่วยเหลือตนเอง เป็นต้น
            ตัวบ่งชี้ 2.2 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและตามที่สถานศึกษากำหนดในรายวิชาที่เสนอขอผลงาน
3. ปริมาณและสภาพของงาน พิจารณาตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
            ตัวบ่งชี้3.1 ปริมาณงาน หมายถึง จำนวนชั่วโมงที่ปฏิบัติการสอน จำนวนกลุ่มสาระการเรียนรู้/กลุ่มประสบการณ์/สาขาวิชา/รายวิชาที่รับผิดชอบและจำนวนนักเรียนที่รับผิดชอบ
            ตัวบ่งชี้ 3.2 สภาพของงาน หมายถึง ความรับผิดชอบของผู้สอนที่มีต่อนักเรียนที่มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจ/วัฒนธรรม/สังคม/พัฒนาการตามวัยและสถานศึกษาที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ปกติ พื้นที่ภูเขาหรือเกาะหรือติดกับรอยตะเข็บชายแดนหรือพื้นที่มีลักษณะพิเศษ

สำหรับผู้ขอรับการประเมินที่สอนระดับปฐมวัย
            ตัวบ่งชี้ 3.1 ปริมาณงานการใช้แหล่งเรียนรู้ โครงการหรือกิจกรรมพิเศษสอดคล้องการจัดกิจกรรมประจำวัน หมายถึง กิจกรรมหรือประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครูจัดเพิ่มเติมจากตารางกิจกรรมประจำวันเพื่อเสริมการเรียนรู้ตามหน่วยงานการเรียนรู้ที่จัดให้กับผู้เรียนหรือเพื่อขยายประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
            ตัวบ่งชี้ 3.2 สภาพของงาน หมายถึง ความรับผิดชอบของผู้สอนที่มีต่อนักเรียนที่มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจ/วัฒนธรรม/สังคม/พัฒนาการตามวัยและสถานศึกษาที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ปกติ พื้นที่ภูเขาหรือเกาะหรือติดกับรอยตะเข็บชายแดนหรือพื้นที่มีลักษณะพิเศษ
สำหรับผู้ขอรับการประเมินที่สอนการศึกษาพิเศษ
            ตัวบ่งชี้ 3.1 ปริมาณงาน หมายถึง จำนวนชั่วโมงที่ปฏิบัติการสอน จำนวนกลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่รับผิดชอบตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP) และจำนวนนักเรียนที่รับผิดชอบในแต่ละประเภทของสถานศึกษา
            ตัวบ่งชี้ 3.2 สภาพของงาน หมายถึง ความรับผิดชอบของผู้สอนที่มีต่อนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ในแต่ละประเภทของความพิการและระดับความรุนแรงของความพิการ

ส่วนที่ 2 ผลงานทางวิชาการ (40 คะแนน)
ผลงานทางวิชาการของสายงานการสอน หมายถึง รายงานการศึกษา ค้นคว้า หรือผลการวิจัยในชั้นเรียน หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ที่มีจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหาด้านการเรียนของผู้เรียนและสอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ มีการศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนโดยมีลักษณะดังนี้
     1) ตรงกับสาขาวิชาที่ขอให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
     2) เป็นผลงานที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือสาขาวิชาต่าง ๆ และใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน
     3) เกิดจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบทางด้านการสอนประเภทผลงานทางวิชาการผลงานทางวิชาการที่เสนอขอต้องแสดงถึงความรู้ความสามารถ ความชำนาญและความเชี่ยวชาญของผู้ขอให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ แบ่งตามลักษณะของผลงานทางวิชาการเป็น 3 ประเภท ดังนี้
          1. ผลงาน งานแต่งเรียบเรียง งานแปล หนังสือ หรือบทความทางวิชาการซึ่งเป็นผลงานที่ได้รับการเผยแพร่มาแล้ว และผลงานดังกล่าวสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
          2. ผลงานวิจัย ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่มาแล้ว และผลงานดังกล่าวสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการจัดการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
          3. ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น เช่น
              3.1 การประเมินงาน หรือการประเมินโครงการที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่
              3.2 สื่อ นวัตกรรมทางการศึกษา เช่น ผลงานด้านการจัดทำสื่อการเรียนการสอนผลงานด้านการคิดพัฒนารูปแบบนวัตกรรมที่นำ มาใช้ในการปฏิบัติงานทำ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งอาจจัดทำเป็นเอกสาร หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ รวมทั้งเทคนิค วิธีการจัดการเรียนรู้ อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
              3.3 เอกสารประกอบการปฏิบัติหน้าที่ เป็นเอกสารที่สามารถใช้ประกอบในการปฏิบัติหน้าที่ด้านการเรียนการสอน ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนา ประสิทธิภาพการทำงานในหน้าที่ให้สูงขึ้น สำหรับแผนการจัดการเรียนรู้ให้ใช้เป็นเอกสารประกอบการประเมินด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถเท่านั้น มิให้นำมาเสนอเป็นผลงานทางวิชาการ
              3.4 กรณีผลงานทางวิชาการที่ผู้ขอรับการประเมินมิได้จัดทำแต่ผู้เดียวแต่ได้ร่วมจัดทำกับผู้อื่นในรูปคณะทำงานหรือกลุ่ม ให้ชี้แจงให้ชัดเจนว่าผู้ขอรับการประเมินมีส่วนร่วมในการจัดทำในส่วนใด ตอนใด หน้าใดบ้าง คิดเป็นร้อยละเท่าไรของผลงาน
ทางวิชาการแต่ละเล่ม และให้ผู้ร่วมจัดทำทุกคนรับรองพร้อมทั้งระบุว่าผู้ร่วมจัดทำแต่ละรายได้ทำส่วนใดบ้าง
              3.5 ผลงานทางวิชาการที่เสนอขอรับการประเมินต้องไม่เป็นผลงานทางวิชาการที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา หรือประกาศนียบัตรใดๆ หรือผลงานทางวิชาการที่เคยใช้เพื่อเลื่อนตำแหน่งหรือเพื่อให้มีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะมาแล้วลักษณะสำคัญของผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยด้านคุณภาพและประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ ดังนี้
                1. ด้านคุณภาพของผลงานทางวิชาการ
                    1.1 ความถูกต้องตามหลักวิชาการผลงานทางวิชาการต้องมีความถูกต้องตามหลักวิชาการและรูปแบบของผลงานประเภทนั้นๆ เช่น งานวิจัยจัดทำถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัย รายงานการประเมินโครงการจัดทำถูกต้องตามวิธีการและรูปแบบของการประเมินโครงการ หรือ รายงานการพัฒนานวัตกรรมจัดทำถูกต้องตามวิธีการและรูปแบบของการพัฒนานวัตกรรม เป็นต้น
                    1.2 ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ ผลงานทางวิชาการต้องมีเนื้อหาสาระสมบูรณ์ ครบถ้วนถูกต้องตามหลักวิชาการทันสมัย มีการค้นคว้าอ้างอิงถูกต้องเชื่อถือได้ การเรียบเรียงถูกต้องตามหลักภาษา และจัดหัวข้อเป็นระบบเดียวกันฯลฯ
                    1.3 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ผลงานทางวิชาการต้องแสดงให้เห็นถึงการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ พัฒนาและการประยุกต์ใช้ โดยไม่คัดลอกหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบ
                    1.4 การจัดทำ การพิมพ์และรูปเล่ม ผลงานทางวิชาการต้องมีการจัดทำอย่างประณีต การพิมพ์ถูกต้องตามหลักวิชาการ และสวยงาม เช่น การพิมพ์หัวข้อ การย่อหน้า การพิมพ์ตาราง การพิมพ์เชิงอรรถ บรรณานุกรม การจัดทำรูปเล่มถูกต้อง มีปกหน้า ปกใน คำนำ สารบัญ เนื้อหาบรรณานุกรม ภาคผนวก ปกหลัง เป็นต้น
                2. ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ
                    2.1 ประโยชน์ต่อผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา การจัดการศึกษา หน่วยงานการศึกษา และชุมชน พิจารณาจากผลที่ปรากฏต่อผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา การจัดการศึกษาหน่วยงานการศึกษา และชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
                    2.2 ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการและการเผยแพร่ในวงวิชาการพิจารณาจากประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการหรือวิชาชีพ สามารถเป็นแบบอย่างใช้เป็นแหล่งอ้างอิง หรือเป็นแบบในการปฏิบัติได้เป็นอย่างดี มีการนำผลงานไปเผยแพร่ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น จัดพิมพ์ในรายงานประจำปี เอกสาร วารสาร การนำเสนอต่อที่ประชุม สัมมนา การจัดนิทรรศการ การเผยแพร่ ทางวิทยุ โทรทัศน์ หรือ website เป็นต้น
รายงานการสังเคราะห์ผลการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน (สำหรับวิทยฐานะชำนาญการ)
หมายถึง การรายงานการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การระบุปัญหาที่มีลักษณะเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมากกว่า 1 ปัญหา และนำมากำหนดขอบเขตในการแก้ปัญหาและพัฒนา จัดทำ รูปแบบ เทคนิค วิธีการแก้ปัญหาและพัฒนาแล้วนำไปใช้แก้ปัญหาและพัฒนา สรุปผลที่เกิดขึ้นจากการแก้ปัญหาและพัฒนา และนำเสนอวิธีการในเชิงนโยบายว่าจะนำไปใช้ปรับปรุงแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนในอนาคตอย่างไร
พิจารณาจาก
1. การระบุปัญหาและการกำหนดขอบเขตของปัญหา
2. รูปแบบ เทคนิค วิธีการแก้ปัญหาและพัฒนา
3. การนำรูปแบบ เทคนิค วิธีการแก้ปัญหาและพัฒนา ไปใช้แก้ปัญหาและพัฒนาและผลที่เกิดขึ้น
4. ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาและพัฒนาในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น