หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การกำหนดอัตลักษณ์ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ความหมายของอัตลักษณ์

อัตลักษณ์ หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนตามปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา (ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก)
อัตลักษณ์ของสถานศึกษา(ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก) ควรเน้นไปที่การกำหนดภาพความสำเร็จ(Image of Success)ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน จะเป็นลักษณะ หรือคุณสมบัติโดดเด่นของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษา(ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก) แต่ละแห่ง ซึ่งจะไม่เหมือนกัน (แต่ในความเป็นจริงอาจเหมือนกันได้)
สรุป อัตลักษณ์ คือ ลักษณะเฉพาะที่เป็นตัวตนของสถานศึกษา(ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก) ที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการจัดตั้งสถานศึกษา(ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก) หรือลักษณะโดดเด่นของสถานศึกษา(ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก) โดยควรเน้นที่การกำหนดภาพความสำเร็จในตัวผู้เรียน(อาจเป็นคุณลักษณะ หรือสมรรถนะ)
ตัวอย่าง........ อัตลักษณ์ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยเคียน หมู่ 5 องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งก่อ "สะอาด และมารยาทดี" โดยมีตัวชี้วัดที่จะเกิดขึ้นเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ติดตัวนักเรียนทุกคน ดังนี้
ด้านความรับผิดชอบ
1. อาบน้ำ แต่งตัวได้ด้วยตนเอง
2. รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
3. มีพื้นฐาน ปัด กวาด เช็ด ถู เบื้องต้นได้
4. รู้จักเก็บรักษาสิ่งของเข้าที่อย่างเป็นระเบียบ
ด้านความสะอาด
1. รักษาความสะอาดร่างกายได้อย่างสม่ำเสมอ
2. สามารถแปรงฟันได้อย่างถูกวิธี
3. แต่งกายสะอาดเรียบร้อย
4. มีสุขนิสัยที่ดีต่อความสะอาด
ด้านมารยาทงาม
1. รู้จักแสดงความเคารพต่อครู
2. รู้จักแสดงความเคารพต่อผู้ปกครอง
4. รู้จักแสดงความเคารพต่อพระภิกษุหรือผู้ใหญ่
5. ใช้คำพูดสวัสดีครับ/ค่ะ ขอโทษครับ/ค่ะ ขอบคุณค่ะ/ครับ ถูกต้องตามโอกาสอย่างเหมาะสม
กิจกรรมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยเคียน อบต.ทุ่งก่อ ที่ใช้ขับเคลื่อนคุณลักษณะตามอัตลักษณ์ที่กำหนด มีดังนี้
1. จัดทำโครงการเพื่อขับเคลื่อนอัตลักษณ์
2. ประชุมผู้ปกครองเพื่อแจ้งให้ทราบอัตลักษณ์ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและขอความร่วมมือให้ผู้ปกครองช่วยเหลือในขับเคลื่อนให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกำหนด
3. ประชุมครูเพื่อสร้างความตระหนัก และมอบหมายให้ช่วยกันชี้แนะ ชี้นำนักเรียนในการปฏิบัติให้ถูกต้อง
4. ปิดประกาศข้อตกลงสิ่งที่นักเรียนต้องปฏิบัติไว้ในที่เปิดเผย
5. มอบหมายให้ครูประจำชั้นตรวจสอบ/ทบทวนคุณลักษณะของนักเรียนตามตัวชี้วัดที่กำหนดทั้ง 3 ด้าน ภาคเรียนละ 1 ครั้ง
6. เมื่อสิ้นปีการศึกษา ให้สรุปผลเป็นรายด้าน
7. ประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เมื่อสิ้นปีการศึกษา
8. รายงานผลการประเมินอัตลักษณ์ และความพึงพอใจให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชนทราบ

การประชุม-อบรม 19-21 พฤศจิกายน 2556 ณ จังหวัดเชียงใหม่



สรุปการประชุม-อบรม 19-21 พฤศจิกายน 2556 ณ จังหวัดเชียงใหม่
Website counter
ริ่มนับ 20 พ.ย.2556
 19-21 พฤศจิกายน 2556 
ครูอรุณี พิมพิลา เดินทางเข้าร่วมประชุมเตรียมความพร้อมรับการประเมินภายนอกโดย สมศ. ผมนายเข็มชาติ พิมพิลา(krucyber)มีโอกาสเดินทางเข้าร่วมสังเกตการณ์ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงนาทีสุดท้ายของการประชุม
วิทยากรทุกท่านที่มาให้ความกระจ่างนั้นเป็นผู้มีความรู้ความสามารถดีเยี่ยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผอ.สมศ. กรรมการและเลขานุการสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)ท่านได้บรรยายในประเด็นที่น่าสนใจไว้หลายประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เกี่ยวกับอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ และมาตรการส่งเสริม ท่านอธิบายและยกตัวอย่างไว้ชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้ 
สรุปการประชุมวันที่ 19 พ.ย. 2556 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่(ผอ.สมศ.)
  1. สมศ.จะเข้าประเมินภายนอกศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 8,108 แห่ง ระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2557
  2. ประเมินแบบกัลยาณมิตร ใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ การประเมินครั้งนี้ไม่มีการตัดสินได้-ตก หรือผ่าน-ไม่ผ่าน แต่จะชี้จุดเด่น จุดอ่อน จุดที่ควรปรับปรุง ควรส่งเสริมและพัฒนาเพื่อให้นำไปต่อยอดในการประเมินครั้งต่อไป ซึ่งจะมีการตัดสินได้-ตก ผ่าน หรือไม่ผ่าน เต็มรูปแบบ ภายใน 5 ปี
สรุปการประชุมวันที่ 20-21 พ.ย. 2556 ณ หอประชุมโรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่
(ผอ.วีระชาติทศรัตน์; ผอ.ทิวาพร รัตน์ศักดิ์ และ ผอ.ดร.จิรภา สงวนสุข)
  1. เกี่ยวกับ 12 ตัวบ่งชี้ ที่ สมศ.จะนำมาประเมินศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และความสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 12 มาตรฐาน และ 23 มาตรฐาน ในประเด็นนี้มีข้อสรุปในการใช้มาตรฐานดังนี้ ผอ.วีระชาติ ทศรัตน์ : จะใช้ 12 มาตรฐาน หรือ 23 มาตรฐานก็ได้ แล้วแต่จะเลือก ให้ดูความเหมาะสมและความสอดคล้อง กล่าวคือ 12 มาตรฐานสามารถใช้ได้จนถึงปัจจุบัน ส่วน 23 มาตรฐานจะเริ่มใช้ปีการศึกษา 2556 เป็นต้นไป จะนำไปใช้ปีการศึกษา 2555 ไม่ได้เพราะ 23มาตรฐานยังทำไม่เสร็จ ผอ.ทิวาพร รัตนศักดิ์ และ ผอ.ดร.จิรภา สงวนสุข; จะใช้ 12 มาตรฐานหรือ 23 มาตรฐาน ก็ได้แล้วแต่จะเลือก ซึ่ง12 มาตรฐานเป็นของเดิมซึ่ง ณ ปัจจบันพัฒนามาเป็น 23 มาตรฐานแล้ว(ท่านคงบอกเป็นนัยว่าในปีการศึกษา2556ควรทำ23มาตรฐาน) เพราะเวลาที่ท่านทั้งสองบรรยายก็ใช้ 23 มาตรฐาน เป็นตัวอย่างในการจัดแฟ้ม สรุป...krucyber: ปีการศึกษา2554-2555 ให้ใช้ 12 มาตรฐาน(จะใช้23มาตรฐานไม่ได้) ส่วนปีการศึกษา2556 เป็นต้นไป ควรใช้ 23 มาตรฐานเพราะพัฒนามาจาก 12 มาตรฐาน ถ้าเราไม่นำมาใช้ก็แสดงเป็นนัยว่า....เราไม่ยอมพัฒนา มััย่ำอยู่กับมาตรฐานตัวเก่า เวลา สมศ.มาประเมินอาจมีข้อตกหล่นให้ สมศ.ได้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มขึ้น 
  2. ให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจัดทำระบบประกันคุณภาพภายใน เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก โดยเน้นการมีส่วนร่วม โดยใช้กระบวนการ PDCA มาใช้ในการปฏิบัติงาน
  3. ทบทวนการปฏิบัติงาน และคำสั่งแต่งตั้ง/มอบหมายงาน ที่ผ่านมาว่าถูกต้องตามระเบียบแบบแผนหรือไม่ เช่น การแต่งตั้งรักษาการหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีการแต่งตั้งหรือยัง/แต่งตั้งถูกต้องตามระเบียบ/กฎหมายหรือไม่ การประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก(คณะกรรมการสถานศึกษา) จัดทำ/ทำถูกต้องหรือไม่ เป็นต้น
  4. การเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มครูผู้ดูแลเด็ก หากครบสองปีแล้วยังไม่มีใบประกอบวิชาชีพ ต้องออกจากราชการ
  5. การจัดสรรตำแหน่งเพื่อบรรจุฯกรณีพิเศษ ใช้เงื่อนไข วิธีการเหมือนเดิม ปริญญาโทบริหารการศึกษา เป็นวุฒิทางการศึกษาที่สามารถนำมาสมัครเพื่อรับการคัดเลือกได้ จำนวนตำแหน่งปี 2557 "มาก" ส่วนเดือนไหนจะมีการจัดสรรตำแหน่ง "ไม่กล่าวถึง" ให้เตรียมตัวให้พร้อมทั้งเอกสารหลักฐาน และเตรียมความรู้ความสามารถ

วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การประเมินด้านที่ 3

การประเมินด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน มีองค์ประกอบการประเมิน 

เกณฑ์การให้คะแนน เกณฑ์การตัดสิน และวิธีการประเมิน ดังนี้ 

1. องค์ประกอบการประเมิน  การประเมินด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน คะแนนเต็ม 100 คะแนน ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
    ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน คะแนนเต็ม 60 คะแนน มีรายการประเมิน 3 รายการ จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
        1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (30 คะแนน) มีจำนวน 3 ตัวบ่งชี้สำ หรับการประเมินผู้สอนการศึกษาปฐมวัย กำหนดตัวบ่งชี้ มีจำนวน 3 ตัวบ่งชี้ โดยให้ใช้ผู้เรียนที่มีพัฒนาการตามมาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์(10 คะแนน) ระดับ/คะแนนพัฒนาการก่อนพัฒนา (10 คะแนน) และหลังพัฒนาในปีปัจจุบันสูงกว่าปีที่ผ่านมา และผลการประเมินพัฒนาการระดับเขต/ประเทศ(10 คะแนน)แทนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำ หรับการประเมินผู้สอนการศึกษาพิเศษ กำหนดตัวบ่งชี้มีจำนวน 2 ตัวบ่งชี้ ในแต่ละประเภทของความพิการ โดยให้ใช้ความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาการด้านต่างๆ (20 คะแนน) และให้บริการที่จัดให้กับผู้เรียน(10 คะแนน)แทนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
        2) ผลการพัฒนาผู้เรียนด้านอื่นๆ (20 คะแนน) มีจำนวน 2 ตัวบ่งชี้ สำหรับการศึกษาระดับปฐมวัย มีจำนวน 1 ตัวบ่งชี้
        3) ปริมาณและสภาพของงาน (10 คะแนน) มีจำนวน 2 ตัวบ่งชี้
    ส่วนที่ 2 ผลงานทางวิชาการ คะแนนเต็ม 40 คะแนน มีรายการประเมิน2 รายการ จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
       1) คุณภาพของผลงานทางวิชาการ (20 คะแนน) มีจำนวน 4 ตัวบ่งชี้
       2) ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ (20 คะแนน) มีจำนวน 2 ตัวบ่งชี้

2. เกณฑ์การให้คะแนน 
      2.1 การประเมินด้านที่ 3
            ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน กำหนดให้มีเกณฑ์การประเมินเป็นระดับคุณภาพ 4 ระดับ คือ ระดับ 4 ระดับ 3 ระดับ 2 และระดับ 1 ในแต่ละระดับคุณภาพกำหนดค่าคะแนน ดังนี้


      2..2 การประเมินด้านที่ 3
             ส่วนที่ 2 ผลงานทางวิชาการ พิจารณาจาก
             1) คุณภาพของผลงานทางวิชาการ
                 - ความถูกต้องตามหลักวิชาการ (7 คะแนน)
                 - ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ (6 คะแนน)
                 - ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (4 คะแนน)
                 - การจัดทำ การพิมพ์และรูปเล่ม (3 คะแนน)
             2) ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ
                 - ประโยชน์ต่อผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา การจัดการศึกษาหน่วยงานการศึกษาและชุมชน(10 คะแนน)
                 - ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการและการเผยแพร่ในวงวิชาการ(10 คะแนน)

3. เกณฑ์การตัดสิน 
    3.1 การประเมินด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย
          ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และส่วนที่ 2 ผลงานทางวิชาการ ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคน ดังนี้



    3.2 การปรับปรุงด้านที่ 3  กรณีที่ผลการประเมินไม่ผ่านตามเกณฑ์ ข้อ 3.1 และคณะกรรมการชุดที่ 2 มีความเห็นว่าผลการปฏิบัติงานอยู่ในวิสัยที่สามารถปรับปรุงได้ โดยต้องมีผลการประเมินจากกรรมการไม่น้อยกว่า 2 คน ผ่านเกณฑ์ทั้งในส่วนที่ 1 ส่วนที่ 2 และคะแนนรวมเฉลี่ยและต้องมีลักษณะและเงื่อนไข ดังนี้
         การปรับปรุงส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ต้องเป็นกรณีที่ผู้ขอรับการประเมินชี้แจงข้อมูลตามแบบรายงานผลการปฏิบัติงาน(ก.ค.ศ. 3/1) ยังไม่ชัดเจน สามารถ
ให้ผู้ขอรับการประเมินอธิบายหรือชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมให้ชัดเจนได้เท่านั้น ไม่สามารถให้ปรับปรุงข้อมูลเกี่ยวกับผลการการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการประเมินและหรือการทดสอบของวิชาที่สอนในระดับเขตหรือระดับประเทศ และผลการพัฒนาผู้เรียนด้านอื่นๆ เป็นต้น
         การปรับปรุงส่วนที่ 2 ผลงานทางวิชาการต้องอยู่ในวิสัยที่สามารถปรับปรุงได้ การปรับปรุงด้านที่ 3 สามารถปรับปรุงได้ไม่เกิน 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 ให้ปรับปรุงภายในเวลา 6 เดือน เมื่อปรับปรุงแล้วหากคณะกรรมการประเมินพิจารณาแล้ว เห็นว่าผู้ขอรับการประเมินยังปรับปรุงไม่ครบถ้วนตามข้อสังเกตอาจให้ปรับปรุงได้อีกครั้งหนึ่งภายในเวลา 3 เดือน

4. วิธีการประเมิน 
    4.1 ให้กรรมการผู้ประเมินใช้แบบประเมินด้านที่ 3(ก.ค.ศ.11/1 และก.ค.ศ. 12/1) ควบคู่กับกรอบการประเมินด้านที่ 3 และคำอธิบายตัวบ่งชี้การประเมินด้านที่ 3
    4.2 ให้กรรมการพิจารณาข้อมูลส่วนที่ 1 คือ ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนจากเอกสารหลักฐานที่ผู้ขอรับการประเมินรายงานตามแบบ ก.ค.ศ. 3/1 และอาจพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานจริงด้วยก็ได้ สำหรับการประเมินส่วนที่ 2 พิจารณาจากเอกสารผลงานทางวิชาการ ตามจำนวนและประเภทที่ ก.ค.ศ.กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์ฯ ของแต่ละวิทยฐานะ
และตามคำอธิบายตัวบ่งชี้การประเมินด้านที่ 3 ทั้งนี้การประเมินในส่วนที่ 2 นี้ อาจให้ผู้ขอรับประเมินตอบข้อซักถามด้วยก็ได้
    4.3 การประเมินด้านที่ 3 ส่วนที่ 1(ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน) ให้กรรมการแต่ละคนตรวจสอบเอกสารหลักฐาน แหล่งข้อมูลที่แสดงถึงร่องรอยคุณภาพตามที่ปรากฏในแบบรายงานผลการปฏิบัติงาน(ก.ค.ศ. 3/1) แล้วให้คะแนนในแต่ละตัวบ่งชี้ โดยวงกลมรอบตัวเลขตามระดับคุณภาพ และบันทึกหลักฐานร่องรอยที่สอดคล้องกับระดับคุณภาพนั้น โดยใช้แบบบันทึกการประเมิน ดังนี้
         4.3.1 แบบบันทึกการประเมินด้านที่ 3(ก.ค.ศ. 11/1.1) แล้วจึงนำคะแนนที่ได้แต่ละข้อและข้อสังเกตมาบันทึกลงในแบบประเมินด้านที่ 3(ก.ค.ศ. 12/1.1)ให้ชัดเจน
         4.3.2 สำ หรับผู้ที่สอนการศึกษาปฐมวัย ให้ใช้แบบบันทึกการประเมินด้านที่ 3(ก.ค.ศ. 11/1.2) แล้วจึงนำคะแนนที่ได้แต่ละข้อและข้อสังเกตมาบันทึกลงในแบบประเมินด้านที่ 3(ก.ค.ศ. 12/1.2) ให้ชัดเจน
         4.3.3 สำ หรับผู้ที่สอนการศึกษาพิเศษ ให้ใช้แบบบันทึกการประเมินด้านที่ 3(ก.ค.ศ. 11/1.3) แล้วจึงนำคะแนนที่ได้แต่ละข้อและข้อสังเกตมาบันทึกลงในแบบประเมินด้านที่ 3(ก.ค.ศ. 12/1.3) ให้ชัดเจน
    4.4 การประเมินด้านที่ 3 ส่วนที่ 2 (ผลงานทางวิชาการ) ให้กรรมการแต่ละคนประเมินผลงานทางวิชาการตามกรอบการประเมินผลงานทางวิชาการที่กำหนดแล้วจึงให้คะแนนในแต่ละรายการ พร้อมทั้งบันทึกข้อสังเกตเกี่ยวกับผลงานทางวิชาการในแบบประเมินด้านที่ 3(ก.ค.ศ. 12/1.1) สำหรับผู้ที่สอนการศึกษาปฐมวัย(ให้ใช้แบบ ก.ค.ศ. 12/1.2) สำหรับผู้ที่สอนการศึกษาพิเศษ(ให้ใช้แบบ ก.ค.ศ. 12/1.3) ให้ชัดเจน

หมายเหตุ แบบสรุปผลการประเมินด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3(ก.ค.ศ.13/1) ใช้สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นำเสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา หรือส่วนราชการ
เสนอ อ.ก.ค.ศ.ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง พิจารณา เมื่อการประเมินด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3 มีผลสิ้นสุดแล้ว

วิทยฐานะชำนาญการ
   1. ให้คณะกรรมการ ประเมิน 3 รายการ ตามที่ผู้ขอรับการประเมินเสนอไว้ตามแบบ ก.ค.ศ.1(ข้อ 6) คือ
       1) ผลการพัฒนาผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผลการประเมิน และหรือการทดสอบของวิชาที่สอนในระดับเขตหรือระดับประเทศ และผลการพัฒนาผู้เรียนด้านอื่นๆ
       2) รายงานการสังเคราะห์ผลการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
       3) ข้อมูลอื่น ๆ ได้แก่ ปริมาณ คุณภาพ และสภาพของงานที่ผู้ขอรับการประเมินปฏิบัติ
   2. ให้กรรมการแต่ละคนประเมินผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของผู้ขอรับการประเมินวิทยฐานะครูชำนาญการ โดยใช้แบบประเมิน ดังนี้
       2.1 แบบบันทึกการประเมินด้านที่ 3( ก.ค.ศ.11/1.1) แล้วจึงนำผลการประเมินบันทึกลงในแบบสรุปผลการประเมินด้านที่ 3 (ก.ค.ศ.14/1.1 ) ให้ชัดเจน
       2.2 สำหรับผู้ที่สอนการศึกษาปฐมวัย ให้ใช้แบบบันทึกการประเมินด้านที่ 3(ก.ค.ศ.11/1.2) แล้วจึงนำผลการประเมินบันทึกลงในแบบสรุปผลการประเมินด้านที่ 3(ก.ค.ศ.14/1.2) ให้ชัดเจน
       2.3 สำหรับผู้ที่สอนการศึกษาพิเศษ ให้ใช้แบบบันทึกการประเมินด้านที่ 3(ก.ค.ศ.11/1.3) แล้วจึงนำผลการประเมินบันทึกลงในแบบสรุปผลการประเมินด้านที่ 3(ก.ค.ศ.14/1.3) ให้ชัดเจน
    3. ให้กรรมการแต่ละคนประเมินรายงานการสังเคราะห์ผลการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน และปริมาณ คุณภาพ และสภาพของงานที่ผู้ขอรับการประเมินรายงานไว้ในแบบ ก.ค.ศ.1 ตามกรอบการประเมินด้านที่ 3 สำหรับวิทยฐานะชำนาญการ
    4. ให้กรรมการแต่ละคนบันทึกสรุปคะแนนการประเมินทุกด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3 และบันทึกข้อสังเกตในการประเมินทั้ง 3 ด้าน ลงในแบบประเมินด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3 (ก.ค.ศ.14/1.1) สำหรับผู้ที่สอนการศึกษาปฐมวัย(ให้ใช้แบบ ก.ค.ศ. 14/1.2) สำหรับผู้ที่สอนการศึกษาพิเศษ(ให้ใช้แบบ ก.ค.ศ. 14/1.3)
    5. การประเมินด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติ ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65
หมายเหตุ 
   1. แบบสรุปผลการประเมินด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3(ก.ค.ศ. 15/1) ใช้สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา หรือส่วนราชการ เสนอ อ.ก.ค.ศ.ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง พิจารณา เมื่อการประเมินด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3 มีผลสิ้นสุดแล้ว
   2. ในการประเมินค่าทีเฉลี่ยตามข้อ 1.1.1 และข้อ 1.1.2 ของแบบ ก.ค.ศ. 3 วิทยฐานะครูชำนาญการ และค่าทีเฉลี่ยตามข้อ 1.1 และ ข้อ 1.2 ของแบบ ก.ค.ศ. 3/1 วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษขึ้นไป ดำเนินการดังนี้
      2.1 ประเมินตารางวิเคราะห์จุดประสงค์และเนื้อหาของแบบทดสอบ(Table of Specifications : TOS) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้/กลุ่มประสบการณ์/สาขาวิชาที่ผู้ขอรับการประเมินเสนอขอ
      2.2 ประเมินคุณภาพของข้อสอบ ค่า p, r และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของแบบทดสอบก่อนเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน และแบบทดสอบปลายภาค/ปลายปีการศึกษาที่แล้วและปีการศึกษาปัจจุบัน
      2.3 นำผลคะแนนค่าทีเฉลี่ยก่อนเรียนเทียบกับคะแนนค่าทีเฉลี่ยหลังเรียนว่าต่างกันร้อยละเท่าไร แล้วนำผลต่างที่ได้มาเทียบกับระดับตามเกณฑ์การให้คะแนนที่ ก.ค.ศ. กำหนด ดังนี้
           ระดับ 4 ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนร้อยละ 20 ของคะแนนก่อนเรียน
           ระดับ 3 ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 แต่ไม่ถึงร้อยละ 20 ของคะแนนก่อนเรียน
           ระดับ 2 ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 แต่ไม่ถึงร้อยละ 15 ของคะแนนก่อนเรียน
           ระดับ 1 ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนต่ำกว่าร้อยละ 10 ของคะแนนก่อนเรียน
      2.4 นำผลคะแนนค่าทีเฉลี่ยปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาที่แล้ว เทียบกับคะแนนค่าทีเฉลี่ยปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาปัจจุบัน ว่าต่างกันร้อยละเท่าไร แล้วนำผลต่างที่ได้มาเทียบกับระดับตามเกณฑ์การให้คะแนนที่ ก.ค.ศ. กำหนด ดังนี้
           ระดับ 4 ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาปัจจุบันสูงกว่าปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาที่แล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
           ระดับ 3 ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาปัจจุบันสูงกว่าปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาที่แล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 7 แต่ไม่ถึงร้อยละ 10
           ระดับ 2 ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาปัจจุบันสูงกว่าปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาที่แล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 4 แต่ไม่ถึงร้อยละ 7
           ระดับ 1 ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาปัจจุบันสูงกว่าปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาที่แล้วต่ำกว่าร้อยละ 4
คำอธิบายรายการและตัวบ่งชี้ การประเมินด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน
สายงานการสอน
การประเมินด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสายงานการสอน มีคะแนนเต็ม 100 คะแนน ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
    ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 60 คะแนน มีจำนวน 6 ตัวบ่งชี้ และส่วนที่ 2 ผลงานทางวิชาการ 40 คะแนน ดังนี้
       ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน(60 คะแนน)
          1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พิจารณาตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
              ตัวบ่งชี้ 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน หมายถึง ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเปรียบเทียบก่อนเรียนและหลังเรียน
              ตัวบ่งชี้ 1.2 ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของวิชาที่สอน หมายถึง ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเปรียบเทียบปีปัจจุบันกับปีที่ผ่านมา
              ตัวบ่งชี้ 1.3 ผลการประเมินและหรือการทดสอบของวิชาที่สอน/กลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับเขต/ประเทศ หมายถึง ความก้าวหน้าของการทดสอบในวิชาที่ผู้สอนรับผิดชอบการจัดการเรียนการสอน สำหรับผู้ขอรับการประเมินที่สอนระดับปฐมวัย พิจารณาตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
          1) พัฒนาการตามมาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546
              ตัวบ่งชี้ 1.1 ผู้เรียนที่มีพัฒนาการตามมาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง ผู้เรียนมีพัฒนาการตามมาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 12 ข้อ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546
              ตัวบ่งชี้ 1.2 ระดับ/คะแนนพัฒนาการก่อนพัฒนาและหลังพัฒนา ในปีปัจจุบันสูงกว่าปีที่ผ่านมา หมายถึง ระดับ/คะแนนของผู้เรียนพัฒนาการของผู้เรียนทั้ง 4 ด้าน โดยเปรียบเทียบปีที่ผ่านมากับปีปัจจุบัน(ระดับชั้นอนุบาล 1 หมายถึง ความก้าวหน้าทางพัฒนาการของผู้เรียนที่ศึกษาในปีการศึกษาต่างกัน หรือ ระดับชั้นอนุบาล 2 หรือระดับชั้นอนุบาล 3 หมายถึง ระดับ/คะแนนพัฒนาการของผู้เรียนกลุ่มเดียวกันที่เลื่อนระดับชั้นสูงขึ้น โดยเปรียบเทียบระหว่างระดับ/คะแนนพัฒนาการ ชั้นปีที่ผ่านมากับปีปัจจุบัน)
              ตัวบ่งชี้ 1.3 ผลการประเมินพัฒนาการระดับเขต/ประเทศ หมายถึง ผู้เรียนมีผลการประเมินพัฒนาการระดับเขต/ประเทศในปีปัจจุบันสูงกว่าปีที่ผ่านมาสำหรับผู้ขอรับการประเมินที่สอนการศึกษาพิเศษ
      1. ผลการพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
         1) เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง ผู้เรียนที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับ หูตึงน้อยจนถึงหูหนวก พิจารณาตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
             ตัวบ่งชี้ 1.1 ความสามารถในการพัฒนาการด้านต่าง ๆ หมายถึง ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการด้านการพูด การใช้ภาษา ความสามารถทางสติปัญญา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปรับตัว
             ตัวบ่งชี้ 1.2 บริการที่จัดให้กับผู้เรียน หมายถึง ผู้เรียนได้รับบริการจากสถานศึกษาที่จัดให้กับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เช่น เครื่องช่วยฟัง การฝึกฟัง/ฝึกพูด เป็นต้น
     2) เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา หมายถึง ผู้เรียนที่มีความจำกัดอย่างชัดเจนในการปฏิบัติตนในปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ คือ ความสามารถทางสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์พิจารณาตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
             ตัวบ่งชี้ 2.1 ความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยหรือระดับปานกลางในด้านต่างๆ หมายถึง ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการทักษะด้านต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหว ด้านภาษา และการรับรู้ การช่วยเหลือตนเองทางสังคม กลไกกล้ามเนื้อมัดเล็ก/มัดใหญ่ ด้านอาชีพ เป็นต้น
             ตัวบ่งชี้ 2.2 บริการที่จัดให้กับผู้เรียน หมายถึง ผู้เรียนได้รับบริการจากสถานศึกษาที่จัดให้กับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เช่น บริการสอนเสริม ครูพี่เลี้ยง การเยี่ยมบ้าน การฝึกอาชีพ เป็นต้น
     3) เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น หมายถึง ผู้เรียนที่สูญเสียการเห็นตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงตาบอดสนิท พิจารณาตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
            ตัวบ่งชี้ 3.1 ความสามารถในการพัฒนาการด้านต่าง ๆ หมายถึง ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการด้านต่างๆ ได้แก่ การรับรู้จากการเห็นที่เหลืออยู่ การรับรู้ทางการได้ยินการสัมผัส การบูรณาการประสาทสัมผัส การดูแลช่วยเหลือตัวเอง การเตรียมทักษะการอ่านและการเขียนอักษรเบรลล์ การทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว และทักษะการเตรียมการประกอบอาชีพ
            ตัวบ่งชี้ 3.2 บริการที่จัดให้กับผู้เรียน หมายถึง ผู้เรียนได้รับบริการจากสถานศึกษาที่จัดให้กับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น เช่น บริการทางการแนะแนวและการให้คำปรึกษา บริการสอนเสริม บริการอุปกรณ์การสอนและเครื่องมือในการสอน เป็นต้น
     4) เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หมายถึง ผู้เรียนที่มีอวัยวะไม่สมส่วนหรือขาดหายไป กระดูกหรือกล้ามเนื้อผิดปกติมีอุปสรรคในการเคลื่อนไหว ความบกพร่องดังกล่าวอาจเกิดจากโรคทางระบบประสาท โรคของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกการไม่สมประกอบมาแต่กำเนิด อุบัติเหตุ และโรคติดต่อ และเด็กที่มีความบกพร่องทางสุขภาพ หมายถึง ผู้เรียนที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังหรือมีโรคประจำตัวซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาซึ่งมีผลทำให้เกิดความจำเป็นต้องได้รับการศึกษาพิเศษ พิจารณาตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
            ตัวบ่งชี้ 4.1 ความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาการ หมายถึง ผู้เรียนได้รับการพัฒนาด้านต่างๆ ได้แก่ ความสามารถด้านการสื่อสาร การบูรณาการประสาทสัมผัสการช่วยเหลือตนเอง ทักษะทางสังคม นันทนาการ และการเตรียมความพร้อมด้านอาชีพ
            ตัวบ่งชี้ 4.2 บริการที่จัดให้กับผู้เรียน หมายถึง ผู้เรียนได้รับบริการจากสถานศึกษาที่จัดให้กับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย เช่น กายภาพบำ บัดกิจกรรมบำบัด การแก้ไขการพูดและภาษา เป็นต้น
     5) เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หมายถึง ผู้เรียนที่มีความผิดปกติในการทำงานของสมองบางส่วนที่แสดงถึงความบกพร่องในกระบวนการเรียนรู้ที่อาจเกิดขึ้นเฉพาะความสามารถด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน พิจารณาตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
            ตัวบ่งชี้ 5.1 ความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาการ หมายถึง ผู้เรียนได้รับการพัฒนาด้านการรับรู้และการบูรณาการประสาทสัมผัส พัฒนาการทางภาษา ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ทักษะทางสังคม ทักษะในการเรียน และการเตรียมความพร้อมด้านอาชีพ
            ตัวบ่งชี้ 5.2 บริการที่จัดให้กับผู้เรียน หมายถึง ผู้เรียนได้รับบริการจากสถานศึกษาที่จัดให้กับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เช่น บริการสอนเสริมการเคลื่อนไหวและบูรณาการประสาทสัมผัส กิจกรรมบำบัด เป็นต้น
     6) เด็กออทิสติก หมายถึง ผู้เรียนที่มีความผิดปกติของระบบการทำ งานของสมองบางส่วน ซึ่งส่งผลต่อความบกพร่องทางพัฒนาการด้านภาษา ด้านสังคม และการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และมีข้อจำกัดด้านพฤติกรรม หรือมีความสนใจจำกัดเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง พิจารณาตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
            ตัวบ่งชี้ 6.1 ความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาการ หมายถึง ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะต่างๆ ได้แก่ ทักษะในการสื่อสาร ทักษะในการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ การบูรณาการประสาทสัมผัส ทักษะทางสังคมและทักษะในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม ทักษะในการดูแลช่วยเหลือตนเอง และทักษะการเตรียมความพร้อมด้านอาชีพ
            ตัวบ่งชี้ 6.2 บริการที่จัดให้กับผู้เรียน หมายถึง ผู้เรียนได้รับบริการจากสถานศึกษาที่จัดให้กับผู้เรียนออทิสติก เช่น บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ครูพี่เลี้ยงกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด เป็นต้น
     2. ผลการพัฒนาผู้เรียนด้านอื่นๆ พิจารณาตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
            ตัวบ่งชี้ 2.1 ผลการพัฒนาผู้เรียน ด้านสุขภาพ ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคมหมายถึง ผลจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้กิจกรรมประจำวัน/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านสุขภาพ ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม ตามหลักสูตรและตามที่สถานศึกษากำหนด
            ตัวบ่งชี้ 2.2 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและตามที่สถานศึกษากำหนดในรายวิชาที่เสนอขอผลงานสำหรับผู้ขอรับการประเมินที่สอนระดับปฐมวัยตัวบ่งชี้ ผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนเพิ่มเติมจากที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 หมายถึง คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนที่ครูกำหนดเพิ่มเติมจากที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 ซึ่งสอดคล้องกับหลักการจัดการศึกษาปฐม
สำหรับผู้ขอรับการประเมินที่สอนการศึกษาพิเศษ
            ตัวบ่งชี้ 2.1 ผลการพัฒนาผู้เรียนด้านสุขภาพร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม หมายถึง ผู้เรียนมีผลการพัฒนาด้านสุขภาพร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคมตามระดับความสามารถ (พื้นฐานความรู้ด้านวิชา ทักษะ เช่น การอ่าน การเขียน คณิตศาสตร์ ฯลฯ)การพูดและภาษา ทักษะทางสังคม การใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้ การเคลื่อนไหวการช่วยเหลือตนเอง เป็นต้น
            ตัวบ่งชี้ 2.2 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและตามที่สถานศึกษากำหนดในรายวิชาที่เสนอขอผลงาน
3. ปริมาณและสภาพของงาน พิจารณาตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
            ตัวบ่งชี้3.1 ปริมาณงาน หมายถึง จำนวนชั่วโมงที่ปฏิบัติการสอน จำนวนกลุ่มสาระการเรียนรู้/กลุ่มประสบการณ์/สาขาวิชา/รายวิชาที่รับผิดชอบและจำนวนนักเรียนที่รับผิดชอบ
            ตัวบ่งชี้ 3.2 สภาพของงาน หมายถึง ความรับผิดชอบของผู้สอนที่มีต่อนักเรียนที่มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจ/วัฒนธรรม/สังคม/พัฒนาการตามวัยและสถานศึกษาที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ปกติ พื้นที่ภูเขาหรือเกาะหรือติดกับรอยตะเข็บชายแดนหรือพื้นที่มีลักษณะพิเศษ

สำหรับผู้ขอรับการประเมินที่สอนระดับปฐมวัย
            ตัวบ่งชี้ 3.1 ปริมาณงานการใช้แหล่งเรียนรู้ โครงการหรือกิจกรรมพิเศษสอดคล้องการจัดกิจกรรมประจำวัน หมายถึง กิจกรรมหรือประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครูจัดเพิ่มเติมจากตารางกิจกรรมประจำวันเพื่อเสริมการเรียนรู้ตามหน่วยงานการเรียนรู้ที่จัดให้กับผู้เรียนหรือเพื่อขยายประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
            ตัวบ่งชี้ 3.2 สภาพของงาน หมายถึง ความรับผิดชอบของผู้สอนที่มีต่อนักเรียนที่มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจ/วัฒนธรรม/สังคม/พัฒนาการตามวัยและสถานศึกษาที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ปกติ พื้นที่ภูเขาหรือเกาะหรือติดกับรอยตะเข็บชายแดนหรือพื้นที่มีลักษณะพิเศษ
สำหรับผู้ขอรับการประเมินที่สอนการศึกษาพิเศษ
            ตัวบ่งชี้ 3.1 ปริมาณงาน หมายถึง จำนวนชั่วโมงที่ปฏิบัติการสอน จำนวนกลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่รับผิดชอบตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP) และจำนวนนักเรียนที่รับผิดชอบในแต่ละประเภทของสถานศึกษา
            ตัวบ่งชี้ 3.2 สภาพของงาน หมายถึง ความรับผิดชอบของผู้สอนที่มีต่อนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ในแต่ละประเภทของความพิการและระดับความรุนแรงของความพิการ

ส่วนที่ 2 ผลงานทางวิชาการ (40 คะแนน)
ผลงานทางวิชาการของสายงานการสอน หมายถึง รายงานการศึกษา ค้นคว้า หรือผลการวิจัยในชั้นเรียน หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ที่มีจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหาด้านการเรียนของผู้เรียนและสอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ มีการศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนโดยมีลักษณะดังนี้
     1) ตรงกับสาขาวิชาที่ขอให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
     2) เป็นผลงานที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือสาขาวิชาต่าง ๆ และใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน
     3) เกิดจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบทางด้านการสอนประเภทผลงานทางวิชาการผลงานทางวิชาการที่เสนอขอต้องแสดงถึงความรู้ความสามารถ ความชำนาญและความเชี่ยวชาญของผู้ขอให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ แบ่งตามลักษณะของผลงานทางวิชาการเป็น 3 ประเภท ดังนี้
          1. ผลงาน งานแต่งเรียบเรียง งานแปล หนังสือ หรือบทความทางวิชาการซึ่งเป็นผลงานที่ได้รับการเผยแพร่มาแล้ว และผลงานดังกล่าวสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
          2. ผลงานวิจัย ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่มาแล้ว และผลงานดังกล่าวสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการจัดการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
          3. ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น เช่น
              3.1 การประเมินงาน หรือการประเมินโครงการที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่
              3.2 สื่อ นวัตกรรมทางการศึกษา เช่น ผลงานด้านการจัดทำสื่อการเรียนการสอนผลงานด้านการคิดพัฒนารูปแบบนวัตกรรมที่นำ มาใช้ในการปฏิบัติงานทำ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งอาจจัดทำเป็นเอกสาร หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ รวมทั้งเทคนิค วิธีการจัดการเรียนรู้ อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
              3.3 เอกสารประกอบการปฏิบัติหน้าที่ เป็นเอกสารที่สามารถใช้ประกอบในการปฏิบัติหน้าที่ด้านการเรียนการสอน ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนา ประสิทธิภาพการทำงานในหน้าที่ให้สูงขึ้น สำหรับแผนการจัดการเรียนรู้ให้ใช้เป็นเอกสารประกอบการประเมินด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถเท่านั้น มิให้นำมาเสนอเป็นผลงานทางวิชาการ
              3.4 กรณีผลงานทางวิชาการที่ผู้ขอรับการประเมินมิได้จัดทำแต่ผู้เดียวแต่ได้ร่วมจัดทำกับผู้อื่นในรูปคณะทำงานหรือกลุ่ม ให้ชี้แจงให้ชัดเจนว่าผู้ขอรับการประเมินมีส่วนร่วมในการจัดทำในส่วนใด ตอนใด หน้าใดบ้าง คิดเป็นร้อยละเท่าไรของผลงาน
ทางวิชาการแต่ละเล่ม และให้ผู้ร่วมจัดทำทุกคนรับรองพร้อมทั้งระบุว่าผู้ร่วมจัดทำแต่ละรายได้ทำส่วนใดบ้าง
              3.5 ผลงานทางวิชาการที่เสนอขอรับการประเมินต้องไม่เป็นผลงานทางวิชาการที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา หรือประกาศนียบัตรใดๆ หรือผลงานทางวิชาการที่เคยใช้เพื่อเลื่อนตำแหน่งหรือเพื่อให้มีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะมาแล้วลักษณะสำคัญของผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยด้านคุณภาพและประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ ดังนี้
                1. ด้านคุณภาพของผลงานทางวิชาการ
                    1.1 ความถูกต้องตามหลักวิชาการผลงานทางวิชาการต้องมีความถูกต้องตามหลักวิชาการและรูปแบบของผลงานประเภทนั้นๆ เช่น งานวิจัยจัดทำถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัย รายงานการประเมินโครงการจัดทำถูกต้องตามวิธีการและรูปแบบของการประเมินโครงการ หรือ รายงานการพัฒนานวัตกรรมจัดทำถูกต้องตามวิธีการและรูปแบบของการพัฒนานวัตกรรม เป็นต้น
                    1.2 ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ ผลงานทางวิชาการต้องมีเนื้อหาสาระสมบูรณ์ ครบถ้วนถูกต้องตามหลักวิชาการทันสมัย มีการค้นคว้าอ้างอิงถูกต้องเชื่อถือได้ การเรียบเรียงถูกต้องตามหลักภาษา และจัดหัวข้อเป็นระบบเดียวกันฯลฯ
                    1.3 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ผลงานทางวิชาการต้องแสดงให้เห็นถึงการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ พัฒนาและการประยุกต์ใช้ โดยไม่คัดลอกหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบ
                    1.4 การจัดทำ การพิมพ์และรูปเล่ม ผลงานทางวิชาการต้องมีการจัดทำอย่างประณีต การพิมพ์ถูกต้องตามหลักวิชาการ และสวยงาม เช่น การพิมพ์หัวข้อ การย่อหน้า การพิมพ์ตาราง การพิมพ์เชิงอรรถ บรรณานุกรม การจัดทำรูปเล่มถูกต้อง มีปกหน้า ปกใน คำนำ สารบัญ เนื้อหาบรรณานุกรม ภาคผนวก ปกหลัง เป็นต้น
                2. ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ
                    2.1 ประโยชน์ต่อผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา การจัดการศึกษา หน่วยงานการศึกษา และชุมชน พิจารณาจากผลที่ปรากฏต่อผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา การจัดการศึกษาหน่วยงานการศึกษา และชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
                    2.2 ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการและการเผยแพร่ในวงวิชาการพิจารณาจากประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการหรือวิชาชีพ สามารถเป็นแบบอย่างใช้เป็นแหล่งอ้างอิง หรือเป็นแบบในการปฏิบัติได้เป็นอย่างดี มีการนำผลงานไปเผยแพร่ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น จัดพิมพ์ในรายงานประจำปี เอกสาร วารสาร การนำเสนอต่อที่ประชุม สัมมนา การจัดนิทรรศการ การเผยแพร่ ทางวิทยุ โทรทัศน์ หรือ website เป็นต้น
รายงานการสังเคราะห์ผลการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน (สำหรับวิทยฐานะชำนาญการ)
หมายถึง การรายงานการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การระบุปัญหาที่มีลักษณะเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมากกว่า 1 ปัญหา และนำมากำหนดขอบเขตในการแก้ปัญหาและพัฒนา จัดทำ รูปแบบ เทคนิค วิธีการแก้ปัญหาและพัฒนาแล้วนำไปใช้แก้ปัญหาและพัฒนา สรุปผลที่เกิดขึ้นจากการแก้ปัญหาและพัฒนา และนำเสนอวิธีการในเชิงนโยบายว่าจะนำไปใช้ปรับปรุงแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนในอนาคตอย่างไร
พิจารณาจาก
1. การระบุปัญหาและการกำหนดขอบเขตของปัญหา
2. รูปแบบ เทคนิค วิธีการแก้ปัญหาและพัฒนา
3. การนำรูปแบบ เทคนิค วิธีการแก้ปัญหาและพัฒนา ไปใช้แก้ปัญหาและพัฒนาและผลที่เกิดขึ้น
4. ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาและพัฒนาในอนาคต

การประเมินด้านที่ 2

การประเมินด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ มีองค์ประกอบการประเมิน เกณฑ์การให้คะแนน เกณฑ์การตัดสิน และวิธีการประเมิน ดังนี้

1. องค์ประกอบการประเมิน   การประเมินด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ คะแนนเต็ม 100 คะแนน ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
    ส่วนที่ 1 การเป็นผู้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน คะแนนเต็ม 60 คะแนน มีรายการประเมิน 4 รายการ จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
     1) หลักสูตร (10 คะแนน) มีจำนวน 1 ตัวบ่งชี้
     2) แผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดประสบการณ์/แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) (30 คะแนน) มีจำนวน 1 ตัวบ่งชี้
     3) สื่อ/นวัตกรรม (10 คะแนน) มีจำนวน 1 ตัวบ่งชี้
     4) แฟ้มสะสมผลงานคัดสรร (10 คะแนน) มีจำนวน 1 ตัวบ่งชี้ สำหรับการประเมินผู้สอนการศึกษาพิเศษ กำหนดรายการ ตัวบ่งชี้และ คะแนน คือ แฟ้มสะสมผลงาน (10คะแนน)
    ส่วนที่ 2 การพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในสาขาหรือกลุ่มสาระที่รับผิดชอบหรือในงานที่รับผิดชอบ คะแนนเต็ม 40 คะแนน มีรายการประเมิน 3 รายการ จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
    1) การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยวิธีการต่างๆ (15 คะแนน) มีจำนวน 1 ตัวบ่งชี้
    2) การประมวลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพ และการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน (20 คะแนน) มีจำนวน 1 ตัวบ่งชี้ สำหรับการประเมินผู้สอนการศึกษาพิเศษ กำหนดตัวบ่งชี้และคะแนน คือ การประมวลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพและการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน(15 คะแนน) และการให้บริการแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (5 คะแนน)
    3) การให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพ (5 คะแนน) มีจำนวน 1 ตัวบ่งชี้

2. เกณฑ์การให้คะแนน กำหนดเกณฑ์การให้คะแนนเป็นระดับคุณภาพ 4 ระดับ คือ ระดับ 4 ระดับ 3 ระดับ 2 และระดับ 1 ในแต่ละระดับคุณภาพกำหนดค่าคะแนน ดังนี้ 

3. เกณฑ์การตัดสิน
    3.1 ผู้ที่ผ่านการประเมินด้านที่ 2 ต้องได้คะแนนจากกรรมการทั้งสามคนเฉลี่ย ดังนี้
         1) วิทยฐานะชำนาญการ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65
         2) วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
         3) วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75
         4) วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
    3.2 กรณีที่ผลการประเมินไม่ผ่านตามเกณฑ์ ข้อ 3.1 และคณะกรรมการชุดที่ 1 มีความเห็นว่าผลการประเมินอยู่ในวิสัยที่สามารถพัฒนาได้ ทั้งนี้ ต้องมีผลการประเมินจากกรรมการทั้งสามคนเฉลี่ย ดังนี้
        1) วิทยฐานะชำนาญการ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
        2) วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65
        3) วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
        4) วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75

4. วิธีการประเมิน
       4.1 ให้กรรมการผู้ประเมินใช้แบบประเมินด้านที่ 2 (ก.ค.ศ. 6/1.1 และ ก.ค.ศ. 7/1) สำหรับ ผู้ที่สอนการศึกษาปฐมวัย (ก.ค.ศ. 6/1.2 และ ก.ค.ศ. 7/1) และผู้ที่สอนการศึกษาพิเศษ (ก.ค.ศ. 6/1.3 และ ก.ค.ศ. 7/1) ควบคู่กับกรอบการประเมินด้านที่ 2 และคำอธิบายตัวบ่งชี้การประเมินด้านที่ 2
       4.2 ให้กรรมการแต่ละคนตรวจสอบข้อมูลของบุคคลและหรือหน่วยงาน และเอกสาร หลักฐาน แหล่งข้อมูล ที่แสดงร่องรอยว่าผู้ขอรับการประเมินเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งใช้วิธีการประเมินในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสม เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ หรือสอบถามข้อมูลจากผู้ขอรับการประเมิน ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ผู้รับบริการ และผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนตัดสินใจให้คะแนน โดยวงกลมรอบตัวเลขตามระดับคุณภาพที่สอดคล้องกับหลักฐาน ร่องรอย และให้บันทึกข้อมูล/สารสนเทศ/หลักฐานในแบบบันทึกการประเมินด้านที่ 2 (ก.ค.ศ. 6/1.1) สำหรับผู้ที่สอนการศึกษาระดับปฐมวัย (ให้ใช้แบบ ก.ค.ศ. 6/1.2) และผู้ที่สอนการศึกษาพิเศษ(ให้ใช้แบบ ก.ค.ศ. 6/1.3) แล้วนำ ระดับคุณภาพที่ได้ในแต่ละตัวบ่งชี้บันทึกและคิดค่าคะแนนลงในแบบสรุปผลการประเมินด้านที่ 2 (ก.ค.ศ.7/1) พร้อมทั้งบันทึกข้อสังเกตซึ่งเป็นจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และข้อคิดเห็นในเรื่องที่ประเมินของผู้ขอรับการประเมินไว้ด้วย ทั้งนี้การประเมินด้านที่ 2 ให้คณะกรรมการประเมินจากเอกสารหลักฐาน รวมทั้งการปฏิบัติงานจริง ณ สถานศึกษา
       4.3 ให้คณะกรรมการทั้งสามคน สรุปคะแนนการประเมินลงในแบบ ก.ค.ศ.8/1 ทุกครั้งที่มีการประเมิน คือ ครั้งที่ 1 และหรือครั้งที่ 2 (หลังจากการพัฒนาครั้งที่ 1) และหรือครั้งที่ 3 (หลังจากการพัฒนาครั้งที่ 2) แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการประเมินบันทึกข้อสังเกตซึ่งเป็นจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาและข้อคิดเห็นในเรื่องที่ประเมินของผู้ขอรับการประเมิน ทุกครั้งที่มีการประเมินไว้ด้วย

หมายเหตุ  
  - แบบสรุปผลการประเมินด้านที่ 1 และด้านที่ 2 (ก.ค.ศ.9) ใช้สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา หรือส่วนราชการเสนอ อ.ก.ค.ศ.ที่ ก.ค.ศ.ตั้ง พิจารณา เมื่อการประเมินด้านที่ 1 และด้านที่ 2 มีผลสิ้นสุดแล้ว
  - แบบสรุปผลการประเมินด้านที่ 1 และด้านที่ 2 (ก.ค.ศ. 10)ใช้สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/ส่วนราชการ รายงานสำนักงาน ก.ค.ศ.

คำอธิบายรายการและตัวบ่งชี้ การประเมินด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ 

สายงานการสอน 

การประเมินด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน มีคะแนนเต็ม 100 คะแนน ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การเป็นผู้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน 60 คะแนน มีจำนวน 4 ตัวบ่งชี้ และส่วนที่ 2 การพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในสาขาหรือกลุ่มสาระที่รับผิดชอบหรือในงานที่รับผิดชอบ 40 คะแนน มีจำนวน 3 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
ส่วนที่ 1 การเป็นผู้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน (60 คะแนน) 
   1. หลักสูตร หมายถึง มวลประสบการณ์ที่ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ในสาระ/รายวิชา/สาขาที่เสนอขอโดยมีการวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด สมรรถนะคุณลักษณะอันพึงประสงค์ กระบวนการเรียนรู้ แนวทางการจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดและการประเมินผล ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หรือหลักสูตรอื่นตามที่หน่วยงานกำหนด
       ตัวบ่งชี้ที่ 1 ความสามารถในการจัดทำหลักสูตรอย่างเป็นระบบ หมายถึง ความสามารถ ในการวิเคราะห์หลักสูตร พัฒนาหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ การประเมินหลักสูตรและการปรับปรุงหลักสูตร
  2. แผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดประสบการณ์/แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
       ตัวบ่งชี้ที่ 2 แผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดประสบการณ์/แผนการจัด การศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) หมายถึง ความสามารถในการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตร ผู้เรียนและบริบทของชุมชน มีองค์ประกอบของแผนครบถ้วน สอดคล้องกัน และถูกต้องตามหลักวิชาการ มีการออกแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายและถูกต้อง มีการวัดและประเมินผลสอดคล้องกับจุดประสงค์และกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย มีการบันทึกผลการจัดการเรียนรู้และการนำมาพัฒนาการจัดการเรียนรู้
สำหรับผู้ขอรับการประเมินที่สอนระดับปฐมวัย แผนการจัดประสบการณ์ต้องสอดคล้องกับกิจกรรมหลักครอบคลุมพัฒนาการเด็กทุกด้าน และมีความสมดุล
สำหรับผู้ขอรับการประเมินที่สอนการศึกษาพิเศษ แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลหมายความว่า แผนซึ่งกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของเด็กพิการตลอดจนกำหนดเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และ
ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาเฉพาะบุคคล
   3. สื่อ/นวัตกรรม สื่อ หมายถึง สิ่งที่ใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน โดยอาจเป็นวัสดุ อุปกรณ์ วิธีการในการจัดการเรียนรู้ที่ผู้สอน เลือก จัดหา หรือจัดทำขึ้นใช้ ส่วนนวัตกรรม หมายถึง สิ่งที่ผู้สอน จัดทำขึ้นใหม่ โดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของตนเอง ต่อยอดความคิดจากสื่อเดิมให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ นวัตกรรม อาจเป็นกระบวนการ เทคนิค วิธีการที่ผู้สอนคิดขึ้นเพื่อใช้จัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานและตัวชี้วัดหรือจุดมุ่งหมายของหลักสูตรอื่น
       ตัวบ่งชี้ที่ 3 ความสามารถในการเลือก/ออกแบบ การผลิต/จัดหา การนำไปใช้
การประเมินผลและการพัฒนาสื่อ/นวัตกรรมที่สอดคล้องกับกระบวนการจัดการเรียนรู้
หมายถึง ความสามารถในการเลือก ผลิต ใช้ และพัฒนาสื่อ/นวัตกรรมที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
สอดคล้องกับกระบวนการจัดการเรียนรู้
   4. แฟ้มสะสมผลงานคัดสรร/แฟ้มสะสมผลงาน
       ตัวบ่งชี้ที่ 4 แฟ้มสะสมผลงานคัดสรรที่เกี่ยวกับผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชน และตนเอง หมายถึง แฟ้มสะสมผลงานที่ผู้สอนได้คัดเลือกผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ และงานที่ได้รับมอบหมายของผู้สอนที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชน และตนเองโดยเป็นผลงานดีเด่นหรือผลงานที่แสดงพัฒนาการของการปฏิบัติงานในแต่ละกลุ่ม
สำหรับผู้ขอรับการประเมินที่สอนการศึกษาพิเศษ แฟ้มสะสมผลงาน หมายถึง แฟ้มสะสมผลงานที่ผู้สอนได้รับมอบหมายเกี่ยวกับการสอน

ส่วนที่ 2 การพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในสาขาหรือกลุ่มสาระที่รับผิดชอบ หรือในงานที่รับผิดชอบ (40 คะแนน
   1. การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยวิธีการต่างๆ
       ตัวบ่งชี้ที่ 1 การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยวิธีการต่างๆ ที่ทำให้เกิดความรู้และ
ทักษะเพิ่มขึ้น หมายถึง การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ด้วยการเข้าประชุมทางวิชาการ การอบรม
สัมมนา การศึกษาต่อ การศึกษาเอกสารทางวิชาการ การศึกษาค้นคว้าจากสื่อ/วิธีการอื่นๆ
และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการที่ทำให้เกิดความรู้และทักษะเพิ่มขึ้น
   2. การประมวลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพ และการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
       ตัวบ่งชี้ที่ 2 การประมวลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพ และการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน หมายถึง การเลือก การสรุป การจัดระบบความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพ และจัดทำเป็นเอกสารทางวิชาการเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้ขอรับการประเมินที่สอนการศึกษาพิเศษ พิจารณาตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
          ตัวบ่งชี้ 2.1 การประมวลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพ และการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน หมายถึง การประมวลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพ เป็นเอกสารทางวิชาการและสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน/ปรับพฤติกรรม/แก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอน
          ตัวบ่งชี้ 2.2 การให้บริการแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง การให้บริการ
แก่ผู้เรียน ตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP)
เช่น การบริการแนะแนว บริการแก้ไขการพูด บริการทางด้านจิตวิทยา เป็นต้น
  3. การให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพ
      ตัวบ่งชี้ที่ 3 การให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพ หมายถึง การเป็นวิทยากร การเผยแพร่เอกสาร สื่อ/นวัตกรรม การให้ความร่วมมือด้านวิชาการและวิชาชีพแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง

กรอบการประเมินด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ
สายงานการสอน
 

วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การประเมินด้านที่ 1

การประเมินด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ มีองค์ประกอบการประเมิน เกณฑ์การให้คะแนน เกณฑ์การตัดสิน และวิธีการประเมิน ดังนี้
 
1. องค์ประกอบการประเมิน 
การประเมินด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
    คะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งเป็น 5 ตอน จำนวน 25 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
    ตอนที่ 1 การมีวินัย (20 คะแนน) มีจำนวน 5 ตัวบ่งชี้
    ตอนที่ 2 การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี (20 คะแนน) มีจำนวน 5 ตัวบ่งชี้
    ตอนที่ 3 การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม (20 คะแนน) มีจำนวน 5 ตัวบ่งชี้
    ตอนที่ 4 ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ (20 คะแนน) มีจำนวน 5 ตัวบ่งชี้
    ตอนที่ 5 ความรับผิดชอบในวิชาชีพ (20 คะแนน) มีจำนวน 5 ตัวบ่งชี้

2. เกณฑ์การให้คะแนน 
กำหนดให้มีเกณฑ์การให้คะแนนเป็นระดับคุณภาพ 4 ระดับ คือ
     ระดับ 4

     ระดับ 3
     ระดับ 2
     ระดับ 1
ในแต่ละระดับคุณภาพกำหนดค่าคะแนน ดังนี้ 
ระดับคุณภาพ ค่าคะแนน


3. เกณฑ์การตัดสิน

    3.1 ผู้ที่ผ่านการประเมินด้านที่ 1 จะต้องได้คะแนนจากกรรมการทั้งสามคนเฉลี่ย ดังนี้
         1) วิทยฐานะชำนาญการ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65
         2) วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
         3) วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75
         4) วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
    3.2 กรณีที่ผลการประเมินไม่ผ่านตามเกณฑ์ ข้อ 3.1 และคณะกรรมการชุดที่ 1
มีความเห็นว่าผลการประเมินอยู่ในวิสัยที่สามารถพัฒนาได้ ผู้ขอรับการประเมินต้องได้คะแนน จากคณะกรรมการทั้งสามคนเฉลี่ย ดังนี้
        1) วิทยฐานะชำนาญการ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
        2) วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65
        3) วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
        4) วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75

4. วิธีการประเมิน

    4.1ให้กรรมการผู้ประเมินใช้แบบประเมินด้านที่ 1(ก.ค.ศ.4 และ ก.ค.ศ.5) ควบคู่กับกรอบการประเมินด้านที่ 1 และคำอธิบายตัวบ่งชี้การประเมินด้านที่ 1 ทั้งนี้แบบประเมินดังกล่าว ใช้ประเมินได้ทุกตำแหน่งและทุกวิทยฐานะ
    4.2 ให้กรรมการแต่ละคนตรวจสอบข้อมูลของบุคคลและหรือหน่วยงาน และเอกสาร หลักฐาน แหล่งข้อมูลที่แสดงร่องรอยว่าผู้ขอรับการประเมินเป็นผู้มีวินัย คุณธรรม
จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ เช่น ประวัติการรับราชการ (ก.พ.7) คำรับรองของผู้บังคับบัญชา และคณะกรรมการสถานศึกษา/คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา/คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด/กรุงเทพมหานคร เอกสาร หลักฐานที่แสดงการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นต้น รวมทั้งใช้วิธีการประเมินในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสม เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ หรือสอบถามข้อมูลจากผู้ขอรับการประเมิน ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ผู้รับบริการและผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนตัดสินใจให้คะแนนตามพฤติกรรมและหรือหลักฐานร่องรอยที่ปรากฏในแต่ละตัวบ่งชี้
โดยวงกลมรอบตัวเลขตามระดับคุณภาพที่สอดคล้องกับหลักฐาน ร่องรอย และให้บันทึกข้อมูล/สารสนเทศ/หลักฐาน ที่สะท้อนพฤติกรรมการมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้ขอรับการประเมินในแบบบันทึกการประเมินด้านที่ 1 (ก.ค.ศ. 4) แล้วนำระดับคุณภาพที่ได้ในแต่ละตัวบ่งชี้ บันทึกและคิดค่าคะแนนลงในตารางท้ายแบบ ก.ค.ศ.4 พร้อมทั้งบันทึกข้อสังเกตซึ่งเป็นจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และข้อคิดเห็นในเรื่องที่ประเมินของผู้ขอรับการประเมินไว้ด้วย ทั้งนี้ การประเมินด้านที่ 1 ให้คณะกรรมการประเมินจากเอกสาร หลักฐาน รวมทั้งการปฏิบัติงานจริง ณ สถานที่ปฏิบัติงาน
    4.3 ให้คณะกรรมการทั้งสามคน สรุปคะแนนการประเมินลงในแบบ ก.ค.ศ.5 ทุกครั้งที่มีการประเมิน คือ ครั้งที่ 1 และหรือครั้งที่ 2 (หลังจากการพัฒนาครั้งที่1) และหรือ ครั้งที่ 3 (หลังจากการพัฒนาครั้งที่ 2) แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการประเมินบันทึกข้อสังเกตซึ่งเป็นจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และข้อคิดเห็นในเรื่องที่ประเมินของผู้ขอรับการประเมินทุกครั้งที่มีการประเมินไว้ด้วย

คำอธิบายตัวบ่งชี้
การประเมินด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ(ทุกตำแหน่งและทุกวิทยฐานะ)
ในการประเมินด้านที่ 1 คือ ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพได้กำหนดรายการประเมินเป็น 5 ตอน ๆ ละ 5 ตัวบ่งชี้ และในแต่ละตัวบ่งชี้มีเกณฑ์การให้คะแนนตามพฤติกรรมที่สอดคล้องกับหลักฐานร่องรอย โดยกำหนดให้ผู้ขอรับการประเมินรายงานพฤติกรรมที่แสดงถึงความเป็นผู้มีวินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ และรวบรวมเอกสารหลักฐานอ้างอิงไว้ที่สถานที่ปฏิบัติงาน เพื่อรอรับการประเมินจากคณะกรรมการประเมินดังนี้

ตอนที่ 1 การมีวินัย ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 5 ตัวบ่งชี้ ดังนี้

     ตัวบ่งชี้ 1.1 การมีวินัยในตนเอง ยอมรับและถือปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท ขนบธรรมเนียม และแบบแผนอันดีงามของสังคม หมายถึง การมีวินัยในตนเอง การยอมรับ และถือปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท ขนบธรรมเนียม และแบบแผนอันดีงามของสังคมการเป็นแบบอย่างที่ดี และการเป็นผู้นำในการเสริมสร้างการพัฒนาด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
     ตัวบ่งชี้ 1.2 การรักษาและเสริมสร้างวินัยในตำ แหน่งหน้าที่ราชการการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการรักษาและเสริมสร้างวินัยในตำแหน่งหน้าที่ราชการ การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ การมีส่วนร่วมเสริมสร้างวินัยแก่ผู้อื่น และผลงานเป็นที่ปรากฏเป็นแบบอย่างที่ดี
     ตัวบ่งชี้ 1.3 การตรงต่อเวลา การอุทิศเวลาให้แก่ทางราชการและผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการตรงต่อเวลา ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
ได้สำเร็จ และอุทิศเวลาอย่างต่อเนื่อง
     ตัวบ่งชี้ 1.4 ความซื่อสัตย์ สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ การรักษาผลประโยชน์ของทางราชการ และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต การรักษาผลประโยชน์ของทางราชการ และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน การได้รับการยกย่อง ชมเชย
     ตัวบ่งชี้ 1.5 การรักษาความสามัคคี มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนร่วมงานองค์กร และชุมชน หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการมีน้ำใจ เสียสละ ทำงานร่วมกับผู้อื่น
ได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จจนได้รับการยอมรับจากหน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
ตอนที่ 2 การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 5 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
     ตัวบ่งชี้ 2.1 ความอุตสาหะ ขยัน อดทน มุ่งมั่นและรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ของงาน โดยยึดหลักประหยัด คุ้มค่า มีประสิทธิภาพ หมายถึง การปฏิบัติงานที่ประสบความสำเร็จ
เป็นที่ยอมรับ มีผลงานปรากฏชัดเจน และนำไปพัฒนาผู้อื่นได้
     ตัวบ่งชี้ 2.2 การยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม มีความศรัทธาและปฏิบัติตนตามหลักศาสนา หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม มีความศรัทธาและปฏิบัติตนตามหลักศาสนา เป็นแบบอย่างที่ดีได้รับการยกย่องชมเชยและมีส่วนร่วมและเสริมสร้างพัฒนาผู้อื่น
     ตัวบ่งชี้ 2.3 การยึดมั่นในหลักนิติธรรม ยืนหยัด กระทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการยึดมั่นปฏิบัติหน้าที่ตามหลักนิติธรรม ได้รับการยกย่อง ชมเชย และมีการรณรงค์และเสริมสร้างผู้อื่น
     ตัวบ่งชี้ 2.4 การยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และวางตัวเป็นกลางทางการเมือง หมายถึง การมีพฤติกรรม ที่แสดงถึง
การใช้สิทธิและหน้าที่ตามระบอบประชาธิปไตยการมีส่วนร่วมส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง การวางตัวเป็นกลางทางการเมืองและการวางรากฐานระบอบประชาธิปไตย
     ตัวบ่งชี้ 2.5 การมีส่วนร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การมีกิจกรรมที่ได้จัดหรือมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและสิ่งแวดล้อม

ตอนที่ 3 การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 5 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
     ตัวบ่งชี้ 3.1 การดำรงชีวิตตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การมีพฤติกรรม/กิจกรรม ที่แสดงถึงการดำรงชีวิตตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
     ตัวบ่งชี้ 3.2 การละเว้นอบายมุขและสิ่งเสพติด หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการเป็นผู้ละเว้นอบายมุขและสิ่งเสพติดและเป็นผู้นำรณรงค์และเสริมสร้างผู้อื่นอย่างต่อเนื่อง
     ตัวบ่งชี้ 3.3 การใช้หรือให้ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลและของทางราชการ ให้เป็นไปด้วยความถูกต้อง หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการใช้หรือให้ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
และของทางราชการได้ถูกต้องเหมาะสม และพัฒนาผู้อื่นในเรื่องดังกล่าวได้
     ตัวบ่งชี้ 3.4 การดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี เหมาะสมกับสถานภาพและตำแหน่งหน้าที่ หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี เหมาะสม
กับสถานภาพและตำแหน่งหน้าที่ การได้รับการยกย่อง ชมเชย และการมีส่วนร่วมเสริมสร้างพัฒนาผู้อื่น
     ตัวบ่งชี้ 3.5 การประหยัด มัธยัสถ์ อดออม หมายถึง การมีพฤติกรรม/โครงการ/กิจกรรมที่แสดงถึงการประหยัด มัธยัสถ์ อดออม ซึ่งมีผลต่อการดำรงชีวิตเป็นที่ปรากฏ การได้รับการยกย่องชมเชย และการมีส่วนร่วมรณรงค์และเสริมสร้างผู้อื่น
ตอนที่ 4 ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 5 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
     ตัวบ่งชี้ 4.1 การเป็นสมาชิกที่ดี สนับสนุนหรือร่วมกิจกรรมของวิชาชีพและทางวิชาการอย่างสร้างสรรค์ หมายถึง การมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ และวิชาการการนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์การได้รับการยกย่อง ชมเชย และการมีส่วนร่วมรณรงค์และเสริมสร้างผู้อื่นโดยระบุชื่อกิจกรรมดังกล่าวด้วย
     ตัวบ่งชี้ 4.2 การศึกษา ค้นคว้า ริเริ่ม สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ ๆ มาใช้พัฒนางานในวิชาชีพ หมายถึง การศึกษา ค้นคว้า ริเริ่ม สร้างสรรค์ ความรู้ใหม่ๆ นวัตกรรมในการพัฒนางานในวิชาชีพจนสำเร็จและเป็นตัวอย่างได้
     ตัวบ่งชี้ 4.3 การมีบทบาทเป็นผู้นำทางวิชาการในวงการวิชาชีพ หมายถึง การมีบทบาทการเป็นผู้นำทางวิชาการในวงการวิชาชีพในระดับจังหวัด/เขตพื้นที่การศึกษา การมีส่วนร่วมในการพัฒนาเสริมสร้างผู้อื่น และมีผลงานปรากฏ
     ตัวบ่งชี้ 4.4 การรักษาชื่อเสียง ปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพและการยกย่องเชิดชูเกียรติ หมายถึง การมีพฤติกรรม/โครงการ/กิจกรรม ที่แสดงถึงการรักษาชื่อเสียง ปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ และการยกย่องเชิดชูเกียรติที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกิดผลดี เป็นที่ยอมรับและการมีส่วนร่วมรณรงค์และเสริมสร้างผู้อื่น
     ตัวบ่งชี้ 4.5 การเสริมสร้างปลูกจิตสำนึกที่ดี แก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการเป็นผู้นำในการเสริมสร้างปลูกจิตสำนึกที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม ผลงานที่ปรากฏ และการได้รับการยกย่อง ชมเชย
ตอนที่ 5 ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 5 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
     ตัวบ่งชี้ 5.1 การเอาใจใส่ ถ่ายทอดความรู้ หรือส่งเสริมการแสวงหาความรู้โดยไม่บิดเบือน ปิดบัง หวังสิ่งตอบแทน หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการเอาใจใส่ถ่ายทอดความรู้ หรือส่งเสริมการแสวงหาความรู้โดยไม่บิดเบือน ปิดบัง หวังสิ่งตอบแทนและเกิดผลดีต่องานในหน้าที่และได้รับการยกย่อง โดยมีผลงานปรากฏอย่างต่อเนื่อง
     ตัวบ่งชี้ 5.2 การเอาใจใส่ช่วยเหลือผู้เรียนและผู้รับบริการ เต็มความสามารถตามหลักวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ เท่าเทียมกัน หมายถึง การมีพฤติกรรม/โครงการ/กิจกรรมที่แสดงถึงการเอาใจใส่ช่วยเหลือผู้เรียนและผู้รับบริการเต็มความสามารถตามหลักวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอเท่าเทียมกัน โดยระบุชื่อกิจกรรมดังกล่าวด้วย
     ตัวบ่งชี้ 5.3 การศึกษา ค้นคว้า ริเริ่ม สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ นวัตกรรม ในการพัฒนางานในหน้าที่ หมายถึง การศึกษา ค้นคว้า ริเริ่ม สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ นวัตกรรมในการพัฒนางานในหน้าที่จนสำเร็จและเป็นตัวอย่างได้
     ตัวบ่งชี้ 5.4 การประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ หมายถึง การประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ และแบบแผน พฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ การได้รับการยกย่อง ชมเชยในระดับจังหวัด/เขตพื้นที่การศึกษา/คุรุสภา/องค์กรภายนอก/หน่วยงานอื่น
     ตัวบ่งชี้ 5.5 การมีจิตอาสา จิตสาธารณะ และมุ่งประโยชน์ส่วนรวม หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงถึงการให้การช่วยเหลือ หรือให้ความร่วมมือแก่ส่วนรวมอย่างทุ่มเทและเสียสละจนสำเร็จเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม และได้รับการยกย่อง

ครูผู้ดูแลเด็ก...... สู่วิทยฐานะ "ชำนาญการ"

ณ วันนี้(14 ธันวาคม 2556)  จะมีครูผู้ดูแลเด็กจำนวนหลายพันคน ได้รับการบรรจุแต่งตั้งฯ จาก"ครูผู้ช่วย"(ครูผู้ดูแลเด็กอันดับครูผู้ช่วย)
ให้ดำรงตำแหน่ง "ครู"(ครูผู้ดูแลเด็กอันดับ คศ.1)
และ...หากนับต่อเนื่องไปอีก 4 ปี ก็จะมีครูผู้ดูแลเด็กจำนวนหนึ่งที่จบปริญญาโททางการศึกษา ได้รับการเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง"ครูผู้ดูแลเด็กอันดับ คศ.2" ได้รับเงินวิทยฐานะเดือนละ 3,500 บาท
ส่วนท่านที่จบปริญญาตรี จะต้องใช้เวลา 6 ปี
 จึงจะได้รับการเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง"ครูผู้ดูแลเด็กอันดับ คศ.2" ได้รับเงินวิทยฐานะเดือนละ 3,500 บาท เช่นกัน
การที่จะได้รับการเลื่อนและแต่งตั้งฯให้ได้รับเงินวิทยฐานะ 3,500 บาท นั้น ไม่ง่าย...และก็คงไม่ยากเกินกว่าที่ท่านจะทำได้ !?? ซึ่งท่านจะต้องยื่นคำขอและเตรียมผลงานย้อนหลัง 2 ปี ติดต่อกัน(นับถึงวันที่ยื่นคำขอ) ท่านจะรอ...อีก 2 ปี หรือ 4 ปี ค่อยทำ หรือจะเริ่มวันนี้ก็อยู่ที่ท่านจะเลือก หากท่านคิดที่จะทำก็ควรศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการฯ...
 หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะครูชำนาญการ
1. ผู้ขอมีวิทยฐานะครูชำนาญการ ต้องมีคุณสมบัติ ต่อไปนี้
    1.1 ดำรงตำ แหน่งครูมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปีสำ หรับผู้มีวุฒิปริญญาตรี 4 ปีสำหรับผู้มีวุฒิปริญญาโท และ2 ปีสำหรับผู้มีวุฒิปริญญาเอก นับถึงวันที่ยื่นคำขอ หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า
    1.2 มีภาระงานสอนไม่ต่ำกว่าภาระงานขั้นต่ำตามที่ส่วนราชการต้นสังกัดกำหนด โดยความเห็นชอบของ ก.ค.ศ.
    1.3 ได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการเรียนการสอนและการพัฒนาผู้เรียนย้อนหลัง 2 ปีติดต่อกัน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ 
2. ผู้ขอต้องผ่านการประเมิน 3 ด้าน ดังนี้

    ด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ พิจารณาจากข้อมูลของบุคคลและหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเอกสารหลักฐาน ดังนี้
        ส่วนที่ 1 ประวัติการรับราชการ (ก.พ.7)
        ส่วนที่ 2 คำรับรองของผู้บังคับบัญชา และคณะกรรมการสถานศึกษา
        ส่วนที่ 3 เอกสารหลักฐานที่แสดงการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
    ด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ พิจารณาจากการพัฒนางานในหน้าที่และการพัฒนาตนเอง ดังนี้
        ส่วนที่ 1 การเป็นผู้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนพิจารณาจาก หลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้ สื่อ/นวัตกรรม แฟ้มสะสมผลงานคัดสรร
        ส่วนที่ 2 การพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในสาขาหรือกลุ่มสาระที่รับผิดชอบหรือในงานที่รับผิดชอบ พิจารณาจากการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ ด้วยวิธีการต่างๆ ผลการทดสอบความรู้จากหน่วยงานหรือสถาบันทางวิชาการที่ ก.ค.ศ.ให้การรับรองการประมวลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพและการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพ
        ด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน พิจารณาจาก ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายงานการสังเคราะห์ผลการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน ผลการประเมินและหรือการทดสอบของวิชาที่สอนในระดับเขตหรือระดับประเทศ และผลการพัฒนาผู้เรียนด้านอื่นๆ โดยคำนึงถึงปริมาณ คุณภาพและสภาพของงานด้วย

3. การประเมินด้านที่ 1 และด้านที่ 2
 
ให้คณะกรรมการประเมินจากเอกสารหลักฐาน
รวมทั้งการปฏิบัติงานจริง ณ สถานศึกษา ส่วนด้านที่ 3 ให้ประเมินจากเอกสารหลักฐาน ที่ผู้ขอรับการประเมินเสนอ โดยอาจประเมินจากการปฏิบัติงานจริง ณ สถานศึกษา หรืออาจให้ผู้ขอรับการประเมินนำเสนอ และตอบข้อซักถามด้วยก็ได้ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการบันทึกข้อสังเกตเกี่ยวกับจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาในเรื่องที่ประเมินของผู้ขอรับการประเมินไว้ในแบบประเมินด้วย

4. การประเมินด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3
 
ให้มีคณะกรรมการประเมิน 
3 คน ประเมินพร้อมกันทั้ง 3 ด้าน และให้ดำเนินการภายในเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา ได้รับคำขอจากสถานศึกษา

5. เกณฑ์การตัดสิน 
ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินต้องได้คะแนนแต่ละด้าน ดังนี้
    5.1 ด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ต้องได้คะแนนจากกรรมการทั้ง 3 คน เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65
    5.2 ด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ ต้องได้คะแนนจากกรรมการทั้ง 3 คน เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65
    5.3 ด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน ต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 กรณีคณะกรรมการประเมินด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3 มีความเห็นว่า ผลการประเมินอยู่ในวิสัยที่สามารถพัฒนาให้ผ่านเกณฑ์ได้ ให้พัฒนาได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 3 เดือน

6. การพิจารณาอนุมัติผลการประเมินเพื่อให้มีวิทยฐานะครูชำนาญการ
 
ให้ อ.ก.ค.ศ.
เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้อนุมัติ มีผลไม่ก่อนวันที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้รับคำขอและเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์ กรณีที่มีการพัฒนาไม่ว่าด้านใดก็ตาม ให้อนุมัติได้ไม่ก่อนวันที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้รับหนังสือที่ส่งรายละเอียดในการพัฒนาครบถ้วนสมบูรณ์ครั้งหลังสุด

7. เมื่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาผลการประเมิน และมีมติเป็นประการใดแล้ว
ให้ถือเป็นอันสิ้นสุด

8. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้หมายความรวมถึง ส่วนราชการด้วย และ อ.ก.ค.ศ.
เขตพื้นที่การศึกษา ให้หมายความรวมถึง อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้งด้วย
วิธีการ
1. ให้ผู้ประสงค์ขอรับการประเมินยื่นคำขอได้ตลอดปี รอบปีละ 1 ครั้ง โดยส่งคำขอพร้อมทั้งผลการปฏิบัติงาน(ด้านที่ 3) ซึ่งเป็นเอกสารผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน จำนวน 4 ชุด ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้น เพื่อตรวจสอบและรับรองแล้วเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับ ถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรณีผู้ที่จะเกษียณอายุราชการให้ยื่นคำขอพร้อมทั้งผลการปฏิบัติงาน(ด้านที่ 3) ซึ่งเป็นเอกสารผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน จำ นวน 4 ชุด ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
เพื่อตรวจสอบและรับรองแล้วเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับ ถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาก่อนที่จะเกษียณอายุราชการ ไม่น้อยกว่า 6 เดือน

2. ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรวจสอบคุณสมบัติและเอกสารหลักฐาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด และนำเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา

3. ให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาตั้งคณะกรรมการประเมินด้านที่ 1 คือ ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านที่ 2 คือ ด้านความรู้ความสามารถและด้านที่ 3 คือ ด้านผลการปฏิบัติงาน จำนวน 3 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการถานศึกษาของผู้ขอรับการประเมิน ผู้ทรงคุณวุฒินอกสถานศึกษานั้นที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมจำนวน 1 คน และข้าราชการครูที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะครูชำนาญการ และเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์สอดคล้องกับความรับผิดชอบของผู้ขอรับการประเมิน จำนวน 1 คน เป็นกรรมการ โดยให้ตั้งกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ

4. การประเมินด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3
    4.1 กรณีผลการประเมินด้านใดไม่ผ่านเกณฑ์ และคณะกรรมการมีความเห็นว่าผลการประเมินอยู่ในวิสัยที่สามารถพัฒนาให้ผ่านเกณฑ์ได้ ให้คณะกรรมการประเมินแจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อแจ้งสถานศึกษาภายในเวลา 15 วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการประเมินแล้วเสร็จ ให้ผู้ขอรับการประเมินพัฒนาตามข้อสังเกตของคณะกรรมการภายในเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
    4.2 เมื่อผู้ขอรับการประเมินได้พัฒนาแล้ว ให้สถานศึกษาส่งหนังสือแจ้งรายละเอียดที่พัฒนาถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเสนอคณะกรรมการชุดเดิมตรวจและประเมินต่อไป
    4.3 กรณีที่คณะกรรมการประเมินพิจารณารายละเอียดที่พัฒนาแล้วเห็นควรให้มีการพัฒนาเพิ่มเติม ให้แจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อแจ้งสถานศึกษาภายในเวลา 15 วัน
นับแต่วันที่คณะกรรมการประเมินแล้วเสร็จ ให้ผู้ขอรับการประเมินพัฒนาตามข้อสังเกตของคณะกรรมการภายในเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
    4.4 กรณีที่กรรมการประเมินคนเดิมไม่สามารถประเมินได้ด้วยเหตุผลใดก็ตาม ให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาตั้งกรรมการแทนได้ตามที่กำหนดในวิธีการข้อ 3
    4.5 กรณีผู้ขอรับการประเมินไม่ส่งรายละเอียดการพัฒนาตามข้อสังเกตภายในเวลาที่กำหนด หรือส่งเกินเวลาที่กำหนด ถือว่าสละสิทธิ์
    4.6 กรณีผู้ขอรับการประเมินได้พัฒนาแล้ว และมีผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ.กำหนด ถือว่าไม่ผ่านการประเมิน ให้เสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาไม่อนุมัติและให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งผลการพิจารณาให้สถานศึกษา เพื่อแจ้งผู้ขอรับการประเมินทราบ
    4.7 กรณีผลการประเมินทั้ง 3 ด้าน ผ่านเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ.กำหนด ให้เสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาอนุมัติ

5. การแต่งตั้งให้มีวิทยฐานะครูชำนาญการ กรณี อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามีมติอนุมัติ ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 สั่งแต่งตั้งให้มีวิทยฐานะครูชำนาญการ และให้ได้รับเงินเดือนอันดับ คศ. 2 สำหรับผู้ที่รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของอันดับ คศ. 2 จะแต่งตั้งได้เมื่อรับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของอันดับ คศ. 2 ไม่เกิน 1 ขั้น และส่งสำเนาคำสั่ง จำนวน 1 ชุดให้สำนักงาน ก.ค.ศ. ภายในเวลา 7 วัน นับแต่วันออกคำสั่ง

6. ให้ดำเนินการประเมินให้แล้วเสร็จภายในรอบระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่สำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้รับคำ ขอและเอกสารผลการปฏิบัติงาน(ด้านที่ 3) หากดำเนินการไม่แล้วเสร็จให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งสถานศึกษาเพื่อแจ้งผู้ขอรับการประเมินทราบ และเร่งรัดการดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
 สรุปการยื่นคำขอ วิทยฐานะชำนาญการ สายงานการสอน 
1. หนังสือนำส่ง 2. สำเนา ก.พ.7(ทะเบียนประวัติข้าราชการ) จำนวน 1 ฉบับ 3. แบบ ก.ค.ศ.1, ก.ค.ศ.2 และ ก.ค.ศ.3 (จำนวน 4 ชุด ส่ง 1 ชุด อีก 3 ชุดเก็บไว้ที่ศูนย์ฯเพื่อให้กรรมกำรประเมิน) 
การประเมิน-แต่งตั้งคณะกรรมการ 1 คณะ ประเมินทั้ง 3 ด้าน
ด้านที่ 1 ประเมินตามแบบ ก.ค.ศ.4 สรุปลง แบบ ก.ค.ศ.5 
ด้านที่ 2 ประเมินตามแบบ ก.ค.ศ. 6/1.1 นำมาลงแบบ ก.ค.ศ.7/1 สรุปลง แบบ ก.ค.ศ.8/1 
(เฉพาะสาขาปฐมวัย ประเมินตามแบบ ก.ค.ศ. 6/1.2 นำมาลงแบบ ก.ค.ศ.7/1 สรุปลง แบบ ก.ค.ศ.8/1) 
ด้้านที่ 3 ประเมินตามแบบ ก.ค.ศ.14/1.1 
(เฉพาะสำขำปฐมวัย ประเมินตำมแบบ ก.ค.ศ. 14/1.2) 
แล้วนำผลด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3 มาสรุปลงในแบบ ก.ค.ศ. 15/1 
แบบประเมินที่ต้องนำส่งฯคือ แบบ ก.ค.ศ.5, แบบ ก.ค.ศ. 8/1 และ แบบ ก.ค.ศ. 15/1 นอกจากนี้ให้เก็บไว้เป็นหลักฐานที่ศูนย์ฯ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด)

CD1.เตรียมคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษ ไม่ต้องสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งครูผู้ดูแลเด็ก (ปรับปรุงใหม่พร้อมตัวอย่างเอกสารประกอบ)
แผ่นละ 390 บาท 
เป็นตัวอย่างแฟ้มผลการปฏิบัติงาน เพื่อประกอบการเข้ารับการคัดเลือกกรณีพิเศษฯ สำหรับครูผู้ดูแลเด็ก
1) แฟ้มฯ ผลการปฏิบัติงานฯ 3 องค์ประกอบ
2) แฟ้มฯ ความเหมาะสมกับตำแหน่ง 
3) ตัวอย่างการแสดงวิสัยทัศน์

CD3.การเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มฯ ตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็ก (อ้นดับครูผู้ช่วย) 
แผ่นละ 390 บาท
สามารถนำไปปรับ/แก้ไขได้ เป็นตัวอย่างรายงานผลการปฏิบัติงานตามเกณฑ์ประเมินฯ ประะกอบด้วย
ส่วนที่ 1 จะเป็นข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้รับการประเมิน(ครูฯ)
ส่วนที่ 2 จะเป็นการปฏิบัติงาน มี 2 หมวด คือ 
หมวดที่ 1 การปฏิบัติตน แยกเป็น 6 แฟ้ม
หมวดที่ 2 การปฏิบัติงาน แยกเป็น 5 แฟ้ม
นำไปปรับใช้ได้เลย...(ควรใช้คู่กับ CD-4 แผนยุทธศาสตร์ฯ)

CD4.แผนยุทธศาสตร์ และเอกสาร ศพด. 
แผ่นละ 390 บาท 
ใน 1 แผ่น มีเอกสารดังนี้..
1) แผนยุทธศาสตร์การศึกษา 5 ปี2) แผนพัฒนาการศึกษาสามปี3) แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ4) แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา5) หลักสูตรสถานศึกษา(ปฐมวัย)6) SAR (SAR หัวหน้าศูนย์ฯ : ผดด. และของ ศูนย์ฯ)7) แบบฟอร์มต่างๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงานใน ศพด.เแถม...8) แผนฯการเรียนรู้ปฐมวัย9) มาตรฐาน_53 และ 10) มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ 1) แผนยุทธศาสตร์ฯ 5 ปี 
2) แผนพัฒนาฯ สามปี 
3) แผนฯประจำปีงบประมาณ 
4) แผนฯประจำปีการศึกษา
5) หลักสูตรสถานศึกษา(ปฐมวัย) 
6) SAR. (SAR หัวหน้าศูนย์ฯ : ผดด. และของ ศูนย์ฯ) 
7) แบบฟอร์มต่างๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงานใน ศพด. 
และเแถม..แผนฯการเรียนรู้ปฐมวัย - มาตรฐาน_53 
- มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ

CD5. เฟ้มเตรียมประเมินฯ มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ
แผ่นละ 490 บาท 
เป็นแนวทางการจัดแฟ้ม และเตรียมเอกสารเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยยึดมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ เป็นมาตรฐานฯของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งจะนำไปสู่การเขียนรายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report : SAR ) ส่ง สมศ. เพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอกในอนาคตอันใกล้
เอกสารในแผ่น CD มีดังนี้....
1) มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ เกณฑ์พิจารณาและหลักฐาน/ร่องรอย
ของการพัฒนาฯ โดยจัดแยกเป็นแฟ้ม 14 แฟ้ม ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 5 แฟ้ม
มาตรฐานที่ 2 5 แฟ้ม
มาตรฐานที่ 3 4 แฟ้ม
** พร้อมคำแนะนำในการจัดแฟ้ม และเอกสารอ้างอิง **
2) ตัวอย่างเอกสาร แบบฟอร์ม โครงการฯลฯ ที่เกี่ยวข้องและควรมีเพื่อสนองมาตรฐานและตัวบ่งชี้ เกือบทุกรายการ
3) รายงานผลการปฏิบัติงานเพื่อการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (รายงานทุก 6 เดือน เพื่อประกอบการพิจารณาความดีความชอบ-เลื่อนขั้นเงินเดือน-ปีละ 2 ครั้ง)
4) งานวิจัย Full Text เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อ/พัฒนางานในหน้าที่ (62 เรื่อง)
5) ตัวอย่างงานวิจัยในชั้นเรียน (63 เรื่อง)
6) นิทาน 99 เรื่อง
**และ....อื่นๆ อีก (เท่าที่มีและสามารถให้ได้)

CD6. แฟ้มเตรียมประเมินฯ 12 มาตรฐาน ศพด. 
       (แผ่นละ  490  บาท) 

CD.7 แฟ้มเตรียมประเมินครูผู้ดูแลเด็กดีเด่
       (แผ่นละ 390 บาท) 

CD.8  แฟ้มประเมินมาตรฐานฯ23 มาตรฐาน 94 ตัวบ่งชี้ 
       (แผ่นละ 690 บาท)

 ท่านที่ต้องการ ดำเนินการดังนี้...
1. แจ้งชื่อ-ที่อยู่ ลงในเว็บบอร์ด
หรือทางอีเมล์ krucyber@hotmail.com 
หรือโทร.สั่งที่   0-8450-41572
2. แจ้งชื่อ-ที่อยู่แล้ว โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ธนาคารกสิกรไทยสาขาห้าแยกพ่อขุนเม็งรายเลขบัญชี 4552136018 
ชื่อบัญชี นายเข็มชาติ พิมพิลา
** เมื่อโอนฯแล้ว โทร.แจ้งที่ 0-8450-41572 **รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่