หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การประเมินด้านที่ 2

การประเมินด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ มีองค์ประกอบการประเมิน เกณฑ์การให้คะแนน เกณฑ์การตัดสิน และวิธีการประเมิน ดังนี้

1. องค์ประกอบการประเมิน   การประเมินด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ คะแนนเต็ม 100 คะแนน ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
    ส่วนที่ 1 การเป็นผู้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน คะแนนเต็ม 60 คะแนน มีรายการประเมิน 4 รายการ จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
     1) หลักสูตร (10 คะแนน) มีจำนวน 1 ตัวบ่งชี้
     2) แผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดประสบการณ์/แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) (30 คะแนน) มีจำนวน 1 ตัวบ่งชี้
     3) สื่อ/นวัตกรรม (10 คะแนน) มีจำนวน 1 ตัวบ่งชี้
     4) แฟ้มสะสมผลงานคัดสรร (10 คะแนน) มีจำนวน 1 ตัวบ่งชี้ สำหรับการประเมินผู้สอนการศึกษาพิเศษ กำหนดรายการ ตัวบ่งชี้และ คะแนน คือ แฟ้มสะสมผลงาน (10คะแนน)
    ส่วนที่ 2 การพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในสาขาหรือกลุ่มสาระที่รับผิดชอบหรือในงานที่รับผิดชอบ คะแนนเต็ม 40 คะแนน มีรายการประเมิน 3 รายการ จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
    1) การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยวิธีการต่างๆ (15 คะแนน) มีจำนวน 1 ตัวบ่งชี้
    2) การประมวลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพ และการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน (20 คะแนน) มีจำนวน 1 ตัวบ่งชี้ สำหรับการประเมินผู้สอนการศึกษาพิเศษ กำหนดตัวบ่งชี้และคะแนน คือ การประมวลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพและการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน(15 คะแนน) และการให้บริการแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (5 คะแนน)
    3) การให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพ (5 คะแนน) มีจำนวน 1 ตัวบ่งชี้

2. เกณฑ์การให้คะแนน กำหนดเกณฑ์การให้คะแนนเป็นระดับคุณภาพ 4 ระดับ คือ ระดับ 4 ระดับ 3 ระดับ 2 และระดับ 1 ในแต่ละระดับคุณภาพกำหนดค่าคะแนน ดังนี้ 

3. เกณฑ์การตัดสิน
    3.1 ผู้ที่ผ่านการประเมินด้านที่ 2 ต้องได้คะแนนจากกรรมการทั้งสามคนเฉลี่ย ดังนี้
         1) วิทยฐานะชำนาญการ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65
         2) วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
         3) วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75
         4) วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
    3.2 กรณีที่ผลการประเมินไม่ผ่านตามเกณฑ์ ข้อ 3.1 และคณะกรรมการชุดที่ 1 มีความเห็นว่าผลการประเมินอยู่ในวิสัยที่สามารถพัฒนาได้ ทั้งนี้ ต้องมีผลการประเมินจากกรรมการทั้งสามคนเฉลี่ย ดังนี้
        1) วิทยฐานะชำนาญการ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
        2) วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65
        3) วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
        4) วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75

4. วิธีการประเมิน
       4.1 ให้กรรมการผู้ประเมินใช้แบบประเมินด้านที่ 2 (ก.ค.ศ. 6/1.1 และ ก.ค.ศ. 7/1) สำหรับ ผู้ที่สอนการศึกษาปฐมวัย (ก.ค.ศ. 6/1.2 และ ก.ค.ศ. 7/1) และผู้ที่สอนการศึกษาพิเศษ (ก.ค.ศ. 6/1.3 และ ก.ค.ศ. 7/1) ควบคู่กับกรอบการประเมินด้านที่ 2 และคำอธิบายตัวบ่งชี้การประเมินด้านที่ 2
       4.2 ให้กรรมการแต่ละคนตรวจสอบข้อมูลของบุคคลและหรือหน่วยงาน และเอกสาร หลักฐาน แหล่งข้อมูล ที่แสดงร่องรอยว่าผู้ขอรับการประเมินเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งใช้วิธีการประเมินในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสม เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ หรือสอบถามข้อมูลจากผู้ขอรับการประเมิน ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ผู้รับบริการ และผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนตัดสินใจให้คะแนน โดยวงกลมรอบตัวเลขตามระดับคุณภาพที่สอดคล้องกับหลักฐาน ร่องรอย และให้บันทึกข้อมูล/สารสนเทศ/หลักฐานในแบบบันทึกการประเมินด้านที่ 2 (ก.ค.ศ. 6/1.1) สำหรับผู้ที่สอนการศึกษาระดับปฐมวัย (ให้ใช้แบบ ก.ค.ศ. 6/1.2) และผู้ที่สอนการศึกษาพิเศษ(ให้ใช้แบบ ก.ค.ศ. 6/1.3) แล้วนำ ระดับคุณภาพที่ได้ในแต่ละตัวบ่งชี้บันทึกและคิดค่าคะแนนลงในแบบสรุปผลการประเมินด้านที่ 2 (ก.ค.ศ.7/1) พร้อมทั้งบันทึกข้อสังเกตซึ่งเป็นจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และข้อคิดเห็นในเรื่องที่ประเมินของผู้ขอรับการประเมินไว้ด้วย ทั้งนี้การประเมินด้านที่ 2 ให้คณะกรรมการประเมินจากเอกสารหลักฐาน รวมทั้งการปฏิบัติงานจริง ณ สถานศึกษา
       4.3 ให้คณะกรรมการทั้งสามคน สรุปคะแนนการประเมินลงในแบบ ก.ค.ศ.8/1 ทุกครั้งที่มีการประเมิน คือ ครั้งที่ 1 และหรือครั้งที่ 2 (หลังจากการพัฒนาครั้งที่ 1) และหรือครั้งที่ 3 (หลังจากการพัฒนาครั้งที่ 2) แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการประเมินบันทึกข้อสังเกตซึ่งเป็นจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาและข้อคิดเห็นในเรื่องที่ประเมินของผู้ขอรับการประเมิน ทุกครั้งที่มีการประเมินไว้ด้วย

หมายเหตุ  
  - แบบสรุปผลการประเมินด้านที่ 1 และด้านที่ 2 (ก.ค.ศ.9) ใช้สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา หรือส่วนราชการเสนอ อ.ก.ค.ศ.ที่ ก.ค.ศ.ตั้ง พิจารณา เมื่อการประเมินด้านที่ 1 และด้านที่ 2 มีผลสิ้นสุดแล้ว
  - แบบสรุปผลการประเมินด้านที่ 1 และด้านที่ 2 (ก.ค.ศ. 10)ใช้สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/ส่วนราชการ รายงานสำนักงาน ก.ค.ศ.

คำอธิบายรายการและตัวบ่งชี้ การประเมินด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ 

สายงานการสอน 

การประเมินด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน มีคะแนนเต็ม 100 คะแนน ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การเป็นผู้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน 60 คะแนน มีจำนวน 4 ตัวบ่งชี้ และส่วนที่ 2 การพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในสาขาหรือกลุ่มสาระที่รับผิดชอบหรือในงานที่รับผิดชอบ 40 คะแนน มีจำนวน 3 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
ส่วนที่ 1 การเป็นผู้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน (60 คะแนน) 
   1. หลักสูตร หมายถึง มวลประสบการณ์ที่ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ในสาระ/รายวิชา/สาขาที่เสนอขอโดยมีการวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด สมรรถนะคุณลักษณะอันพึงประสงค์ กระบวนการเรียนรู้ แนวทางการจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดและการประเมินผล ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หรือหลักสูตรอื่นตามที่หน่วยงานกำหนด
       ตัวบ่งชี้ที่ 1 ความสามารถในการจัดทำหลักสูตรอย่างเป็นระบบ หมายถึง ความสามารถ ในการวิเคราะห์หลักสูตร พัฒนาหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ การประเมินหลักสูตรและการปรับปรุงหลักสูตร
  2. แผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดประสบการณ์/แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
       ตัวบ่งชี้ที่ 2 แผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดประสบการณ์/แผนการจัด การศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) หมายถึง ความสามารถในการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตร ผู้เรียนและบริบทของชุมชน มีองค์ประกอบของแผนครบถ้วน สอดคล้องกัน และถูกต้องตามหลักวิชาการ มีการออกแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายและถูกต้อง มีการวัดและประเมินผลสอดคล้องกับจุดประสงค์และกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย มีการบันทึกผลการจัดการเรียนรู้และการนำมาพัฒนาการจัดการเรียนรู้
สำหรับผู้ขอรับการประเมินที่สอนระดับปฐมวัย แผนการจัดประสบการณ์ต้องสอดคล้องกับกิจกรรมหลักครอบคลุมพัฒนาการเด็กทุกด้าน และมีความสมดุล
สำหรับผู้ขอรับการประเมินที่สอนการศึกษาพิเศษ แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลหมายความว่า แผนซึ่งกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของเด็กพิการตลอดจนกำหนดเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และ
ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาเฉพาะบุคคล
   3. สื่อ/นวัตกรรม สื่อ หมายถึง สิ่งที่ใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน โดยอาจเป็นวัสดุ อุปกรณ์ วิธีการในการจัดการเรียนรู้ที่ผู้สอน เลือก จัดหา หรือจัดทำขึ้นใช้ ส่วนนวัตกรรม หมายถึง สิ่งที่ผู้สอน จัดทำขึ้นใหม่ โดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของตนเอง ต่อยอดความคิดจากสื่อเดิมให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ นวัตกรรม อาจเป็นกระบวนการ เทคนิค วิธีการที่ผู้สอนคิดขึ้นเพื่อใช้จัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานและตัวชี้วัดหรือจุดมุ่งหมายของหลักสูตรอื่น
       ตัวบ่งชี้ที่ 3 ความสามารถในการเลือก/ออกแบบ การผลิต/จัดหา การนำไปใช้
การประเมินผลและการพัฒนาสื่อ/นวัตกรรมที่สอดคล้องกับกระบวนการจัดการเรียนรู้
หมายถึง ความสามารถในการเลือก ผลิต ใช้ และพัฒนาสื่อ/นวัตกรรมที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
สอดคล้องกับกระบวนการจัดการเรียนรู้
   4. แฟ้มสะสมผลงานคัดสรร/แฟ้มสะสมผลงาน
       ตัวบ่งชี้ที่ 4 แฟ้มสะสมผลงานคัดสรรที่เกี่ยวกับผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชน และตนเอง หมายถึง แฟ้มสะสมผลงานที่ผู้สอนได้คัดเลือกผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ และงานที่ได้รับมอบหมายของผู้สอนที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชน และตนเองโดยเป็นผลงานดีเด่นหรือผลงานที่แสดงพัฒนาการของการปฏิบัติงานในแต่ละกลุ่ม
สำหรับผู้ขอรับการประเมินที่สอนการศึกษาพิเศษ แฟ้มสะสมผลงาน หมายถึง แฟ้มสะสมผลงานที่ผู้สอนได้รับมอบหมายเกี่ยวกับการสอน

ส่วนที่ 2 การพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในสาขาหรือกลุ่มสาระที่รับผิดชอบ หรือในงานที่รับผิดชอบ (40 คะแนน
   1. การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยวิธีการต่างๆ
       ตัวบ่งชี้ที่ 1 การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยวิธีการต่างๆ ที่ทำให้เกิดความรู้และ
ทักษะเพิ่มขึ้น หมายถึง การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ด้วยการเข้าประชุมทางวิชาการ การอบรม
สัมมนา การศึกษาต่อ การศึกษาเอกสารทางวิชาการ การศึกษาค้นคว้าจากสื่อ/วิธีการอื่นๆ
และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการที่ทำให้เกิดความรู้และทักษะเพิ่มขึ้น
   2. การประมวลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพ และการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
       ตัวบ่งชี้ที่ 2 การประมวลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพ และการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน หมายถึง การเลือก การสรุป การจัดระบบความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพ และจัดทำเป็นเอกสารทางวิชาการเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้ขอรับการประเมินที่สอนการศึกษาพิเศษ พิจารณาตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
          ตัวบ่งชี้ 2.1 การประมวลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพ และการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน หมายถึง การประมวลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพ เป็นเอกสารทางวิชาการและสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน/ปรับพฤติกรรม/แก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอน
          ตัวบ่งชี้ 2.2 การให้บริการแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง การให้บริการ
แก่ผู้เรียน ตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP)
เช่น การบริการแนะแนว บริการแก้ไขการพูด บริการทางด้านจิตวิทยา เป็นต้น
  3. การให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพ
      ตัวบ่งชี้ที่ 3 การให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพ หมายถึง การเป็นวิทยากร การเผยแพร่เอกสาร สื่อ/นวัตกรรม การให้ความร่วมมือด้านวิชาการและวิชาชีพแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง

กรอบการประเมินด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ
สายงานการสอน
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น