หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การประเมินด้านที่ 1

การประเมินด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ มีองค์ประกอบการประเมิน เกณฑ์การให้คะแนน เกณฑ์การตัดสิน และวิธีการประเมิน ดังนี้
 
1. องค์ประกอบการประเมิน 
การประเมินด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
    คะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งเป็น 5 ตอน จำนวน 25 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
    ตอนที่ 1 การมีวินัย (20 คะแนน) มีจำนวน 5 ตัวบ่งชี้
    ตอนที่ 2 การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี (20 คะแนน) มีจำนวน 5 ตัวบ่งชี้
    ตอนที่ 3 การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม (20 คะแนน) มีจำนวน 5 ตัวบ่งชี้
    ตอนที่ 4 ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ (20 คะแนน) มีจำนวน 5 ตัวบ่งชี้
    ตอนที่ 5 ความรับผิดชอบในวิชาชีพ (20 คะแนน) มีจำนวน 5 ตัวบ่งชี้

2. เกณฑ์การให้คะแนน 
กำหนดให้มีเกณฑ์การให้คะแนนเป็นระดับคุณภาพ 4 ระดับ คือ
     ระดับ 4

     ระดับ 3
     ระดับ 2
     ระดับ 1
ในแต่ละระดับคุณภาพกำหนดค่าคะแนน ดังนี้ 
ระดับคุณภาพ ค่าคะแนน


3. เกณฑ์การตัดสิน

    3.1 ผู้ที่ผ่านการประเมินด้านที่ 1 จะต้องได้คะแนนจากกรรมการทั้งสามคนเฉลี่ย ดังนี้
         1) วิทยฐานะชำนาญการ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65
         2) วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
         3) วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75
         4) วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
    3.2 กรณีที่ผลการประเมินไม่ผ่านตามเกณฑ์ ข้อ 3.1 และคณะกรรมการชุดที่ 1
มีความเห็นว่าผลการประเมินอยู่ในวิสัยที่สามารถพัฒนาได้ ผู้ขอรับการประเมินต้องได้คะแนน จากคณะกรรมการทั้งสามคนเฉลี่ย ดังนี้
        1) วิทยฐานะชำนาญการ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
        2) วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65
        3) วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
        4) วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75

4. วิธีการประเมิน

    4.1ให้กรรมการผู้ประเมินใช้แบบประเมินด้านที่ 1(ก.ค.ศ.4 และ ก.ค.ศ.5) ควบคู่กับกรอบการประเมินด้านที่ 1 และคำอธิบายตัวบ่งชี้การประเมินด้านที่ 1 ทั้งนี้แบบประเมินดังกล่าว ใช้ประเมินได้ทุกตำแหน่งและทุกวิทยฐานะ
    4.2 ให้กรรมการแต่ละคนตรวจสอบข้อมูลของบุคคลและหรือหน่วยงาน และเอกสาร หลักฐาน แหล่งข้อมูลที่แสดงร่องรอยว่าผู้ขอรับการประเมินเป็นผู้มีวินัย คุณธรรม
จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ เช่น ประวัติการรับราชการ (ก.พ.7) คำรับรองของผู้บังคับบัญชา และคณะกรรมการสถานศึกษา/คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา/คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด/กรุงเทพมหานคร เอกสาร หลักฐานที่แสดงการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นต้น รวมทั้งใช้วิธีการประเมินในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสม เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ หรือสอบถามข้อมูลจากผู้ขอรับการประเมิน ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ผู้รับบริการและผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนตัดสินใจให้คะแนนตามพฤติกรรมและหรือหลักฐานร่องรอยที่ปรากฏในแต่ละตัวบ่งชี้
โดยวงกลมรอบตัวเลขตามระดับคุณภาพที่สอดคล้องกับหลักฐาน ร่องรอย และให้บันทึกข้อมูล/สารสนเทศ/หลักฐาน ที่สะท้อนพฤติกรรมการมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้ขอรับการประเมินในแบบบันทึกการประเมินด้านที่ 1 (ก.ค.ศ. 4) แล้วนำระดับคุณภาพที่ได้ในแต่ละตัวบ่งชี้ บันทึกและคิดค่าคะแนนลงในตารางท้ายแบบ ก.ค.ศ.4 พร้อมทั้งบันทึกข้อสังเกตซึ่งเป็นจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และข้อคิดเห็นในเรื่องที่ประเมินของผู้ขอรับการประเมินไว้ด้วย ทั้งนี้ การประเมินด้านที่ 1 ให้คณะกรรมการประเมินจากเอกสาร หลักฐาน รวมทั้งการปฏิบัติงานจริง ณ สถานที่ปฏิบัติงาน
    4.3 ให้คณะกรรมการทั้งสามคน สรุปคะแนนการประเมินลงในแบบ ก.ค.ศ.5 ทุกครั้งที่มีการประเมิน คือ ครั้งที่ 1 และหรือครั้งที่ 2 (หลังจากการพัฒนาครั้งที่1) และหรือ ครั้งที่ 3 (หลังจากการพัฒนาครั้งที่ 2) แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการประเมินบันทึกข้อสังเกตซึ่งเป็นจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และข้อคิดเห็นในเรื่องที่ประเมินของผู้ขอรับการประเมินทุกครั้งที่มีการประเมินไว้ด้วย

คำอธิบายตัวบ่งชี้
การประเมินด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ(ทุกตำแหน่งและทุกวิทยฐานะ)
ในการประเมินด้านที่ 1 คือ ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพได้กำหนดรายการประเมินเป็น 5 ตอน ๆ ละ 5 ตัวบ่งชี้ และในแต่ละตัวบ่งชี้มีเกณฑ์การให้คะแนนตามพฤติกรรมที่สอดคล้องกับหลักฐานร่องรอย โดยกำหนดให้ผู้ขอรับการประเมินรายงานพฤติกรรมที่แสดงถึงความเป็นผู้มีวินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ และรวบรวมเอกสารหลักฐานอ้างอิงไว้ที่สถานที่ปฏิบัติงาน เพื่อรอรับการประเมินจากคณะกรรมการประเมินดังนี้

ตอนที่ 1 การมีวินัย ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 5 ตัวบ่งชี้ ดังนี้

     ตัวบ่งชี้ 1.1 การมีวินัยในตนเอง ยอมรับและถือปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท ขนบธรรมเนียม และแบบแผนอันดีงามของสังคม หมายถึง การมีวินัยในตนเอง การยอมรับ และถือปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท ขนบธรรมเนียม และแบบแผนอันดีงามของสังคมการเป็นแบบอย่างที่ดี และการเป็นผู้นำในการเสริมสร้างการพัฒนาด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
     ตัวบ่งชี้ 1.2 การรักษาและเสริมสร้างวินัยในตำ แหน่งหน้าที่ราชการการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการรักษาและเสริมสร้างวินัยในตำแหน่งหน้าที่ราชการ การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ การมีส่วนร่วมเสริมสร้างวินัยแก่ผู้อื่น และผลงานเป็นที่ปรากฏเป็นแบบอย่างที่ดี
     ตัวบ่งชี้ 1.3 การตรงต่อเวลา การอุทิศเวลาให้แก่ทางราชการและผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการตรงต่อเวลา ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
ได้สำเร็จ และอุทิศเวลาอย่างต่อเนื่อง
     ตัวบ่งชี้ 1.4 ความซื่อสัตย์ สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ การรักษาผลประโยชน์ของทางราชการ และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต การรักษาผลประโยชน์ของทางราชการ และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน การได้รับการยกย่อง ชมเชย
     ตัวบ่งชี้ 1.5 การรักษาความสามัคคี มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนร่วมงานองค์กร และชุมชน หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการมีน้ำใจ เสียสละ ทำงานร่วมกับผู้อื่น
ได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จจนได้รับการยอมรับจากหน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
ตอนที่ 2 การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 5 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
     ตัวบ่งชี้ 2.1 ความอุตสาหะ ขยัน อดทน มุ่งมั่นและรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ของงาน โดยยึดหลักประหยัด คุ้มค่า มีประสิทธิภาพ หมายถึง การปฏิบัติงานที่ประสบความสำเร็จ
เป็นที่ยอมรับ มีผลงานปรากฏชัดเจน และนำไปพัฒนาผู้อื่นได้
     ตัวบ่งชี้ 2.2 การยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม มีความศรัทธาและปฏิบัติตนตามหลักศาสนา หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม มีความศรัทธาและปฏิบัติตนตามหลักศาสนา เป็นแบบอย่างที่ดีได้รับการยกย่องชมเชยและมีส่วนร่วมและเสริมสร้างพัฒนาผู้อื่น
     ตัวบ่งชี้ 2.3 การยึดมั่นในหลักนิติธรรม ยืนหยัด กระทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการยึดมั่นปฏิบัติหน้าที่ตามหลักนิติธรรม ได้รับการยกย่อง ชมเชย และมีการรณรงค์และเสริมสร้างผู้อื่น
     ตัวบ่งชี้ 2.4 การยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และวางตัวเป็นกลางทางการเมือง หมายถึง การมีพฤติกรรม ที่แสดงถึง
การใช้สิทธิและหน้าที่ตามระบอบประชาธิปไตยการมีส่วนร่วมส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง การวางตัวเป็นกลางทางการเมืองและการวางรากฐานระบอบประชาธิปไตย
     ตัวบ่งชี้ 2.5 การมีส่วนร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การมีกิจกรรมที่ได้จัดหรือมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและสิ่งแวดล้อม

ตอนที่ 3 การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 5 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
     ตัวบ่งชี้ 3.1 การดำรงชีวิตตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การมีพฤติกรรม/กิจกรรม ที่แสดงถึงการดำรงชีวิตตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
     ตัวบ่งชี้ 3.2 การละเว้นอบายมุขและสิ่งเสพติด หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการเป็นผู้ละเว้นอบายมุขและสิ่งเสพติดและเป็นผู้นำรณรงค์และเสริมสร้างผู้อื่นอย่างต่อเนื่อง
     ตัวบ่งชี้ 3.3 การใช้หรือให้ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลและของทางราชการ ให้เป็นไปด้วยความถูกต้อง หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการใช้หรือให้ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
และของทางราชการได้ถูกต้องเหมาะสม และพัฒนาผู้อื่นในเรื่องดังกล่าวได้
     ตัวบ่งชี้ 3.4 การดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี เหมาะสมกับสถานภาพและตำแหน่งหน้าที่ หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี เหมาะสม
กับสถานภาพและตำแหน่งหน้าที่ การได้รับการยกย่อง ชมเชย และการมีส่วนร่วมเสริมสร้างพัฒนาผู้อื่น
     ตัวบ่งชี้ 3.5 การประหยัด มัธยัสถ์ อดออม หมายถึง การมีพฤติกรรม/โครงการ/กิจกรรมที่แสดงถึงการประหยัด มัธยัสถ์ อดออม ซึ่งมีผลต่อการดำรงชีวิตเป็นที่ปรากฏ การได้รับการยกย่องชมเชย และการมีส่วนร่วมรณรงค์และเสริมสร้างผู้อื่น
ตอนที่ 4 ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 5 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
     ตัวบ่งชี้ 4.1 การเป็นสมาชิกที่ดี สนับสนุนหรือร่วมกิจกรรมของวิชาชีพและทางวิชาการอย่างสร้างสรรค์ หมายถึง การมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ และวิชาการการนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์การได้รับการยกย่อง ชมเชย และการมีส่วนร่วมรณรงค์และเสริมสร้างผู้อื่นโดยระบุชื่อกิจกรรมดังกล่าวด้วย
     ตัวบ่งชี้ 4.2 การศึกษา ค้นคว้า ริเริ่ม สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ ๆ มาใช้พัฒนางานในวิชาชีพ หมายถึง การศึกษา ค้นคว้า ริเริ่ม สร้างสรรค์ ความรู้ใหม่ๆ นวัตกรรมในการพัฒนางานในวิชาชีพจนสำเร็จและเป็นตัวอย่างได้
     ตัวบ่งชี้ 4.3 การมีบทบาทเป็นผู้นำทางวิชาการในวงการวิชาชีพ หมายถึง การมีบทบาทการเป็นผู้นำทางวิชาการในวงการวิชาชีพในระดับจังหวัด/เขตพื้นที่การศึกษา การมีส่วนร่วมในการพัฒนาเสริมสร้างผู้อื่น และมีผลงานปรากฏ
     ตัวบ่งชี้ 4.4 การรักษาชื่อเสียง ปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพและการยกย่องเชิดชูเกียรติ หมายถึง การมีพฤติกรรม/โครงการ/กิจกรรม ที่แสดงถึงการรักษาชื่อเสียง ปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ และการยกย่องเชิดชูเกียรติที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกิดผลดี เป็นที่ยอมรับและการมีส่วนร่วมรณรงค์และเสริมสร้างผู้อื่น
     ตัวบ่งชี้ 4.5 การเสริมสร้างปลูกจิตสำนึกที่ดี แก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการเป็นผู้นำในการเสริมสร้างปลูกจิตสำนึกที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม ผลงานที่ปรากฏ และการได้รับการยกย่อง ชมเชย
ตอนที่ 5 ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 5 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
     ตัวบ่งชี้ 5.1 การเอาใจใส่ ถ่ายทอดความรู้ หรือส่งเสริมการแสวงหาความรู้โดยไม่บิดเบือน ปิดบัง หวังสิ่งตอบแทน หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการเอาใจใส่ถ่ายทอดความรู้ หรือส่งเสริมการแสวงหาความรู้โดยไม่บิดเบือน ปิดบัง หวังสิ่งตอบแทนและเกิดผลดีต่องานในหน้าที่และได้รับการยกย่อง โดยมีผลงานปรากฏอย่างต่อเนื่อง
     ตัวบ่งชี้ 5.2 การเอาใจใส่ช่วยเหลือผู้เรียนและผู้รับบริการ เต็มความสามารถตามหลักวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ เท่าเทียมกัน หมายถึง การมีพฤติกรรม/โครงการ/กิจกรรมที่แสดงถึงการเอาใจใส่ช่วยเหลือผู้เรียนและผู้รับบริการเต็มความสามารถตามหลักวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอเท่าเทียมกัน โดยระบุชื่อกิจกรรมดังกล่าวด้วย
     ตัวบ่งชี้ 5.3 การศึกษา ค้นคว้า ริเริ่ม สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ นวัตกรรม ในการพัฒนางานในหน้าที่ หมายถึง การศึกษา ค้นคว้า ริเริ่ม สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ นวัตกรรมในการพัฒนางานในหน้าที่จนสำเร็จและเป็นตัวอย่างได้
     ตัวบ่งชี้ 5.4 การประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ หมายถึง การประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ และแบบแผน พฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ การได้รับการยกย่อง ชมเชยในระดับจังหวัด/เขตพื้นที่การศึกษา/คุรุสภา/องค์กรภายนอก/หน่วยงานอื่น
     ตัวบ่งชี้ 5.5 การมีจิตอาสา จิตสาธารณะ และมุ่งประโยชน์ส่วนรวม หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงถึงการให้การช่วยเหลือ หรือให้ความร่วมมือแก่ส่วนรวมอย่างทุ่มเทและเสียสละจนสำเร็จเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม และได้รับการยกย่อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น